Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563

คืนชีพแมมมอธขนยาวใน 2 ปีข้างหน้า ทำได้จริงหรือไม่

คืนชีพแมมมอธขนยาวใน 2 ปีข้างหน้า 
ทำได้จริงหรือไม่ ?
แมมมอธขนยาวมีชีวิตอยู่ในยุคน้ำแข็งครั้งล่าสุด และฝูงสุดท้ายสูญพันธุ์ไปเมื่อ 4,000 ปีก่อนเจาะลึกความเป็นไปได้ของโครงการ
คืนชีพช้างแมมมอธขนยาวของศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะทำสำเร็จภายใน 2 ปีจากนี้ได้จริงหรือไม่

เมื่อไม่นานมานี้ ข่าวความพยายามคืนชีพช้างแมมมอธขนยาวที่สูญพันธุ์ไปแล้วนับหลายพันปี โดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สร้างความฮือฮาให้กับวงการวิทยาศาสตร์อย่างมาก โดยศาสตราจารย์ จอร์จ เชิร์ช ผู้นำโครงการประกาศว่าจะคืนชีพแมมมอธได้ภายในเวลาเพียง 2 ปีนับจากนี้ ซึ่งถือเป็นเรื่องเหลือเชื่อจนนักบรรพชีวินวิทยา จอห์น ฮอว์กส์ ถึงกับออกมาแย้งว่าเรื่องนี้เป็น "ข่าวปลอม" อย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบรายละเอียดของโครงการคืนชีพแมมมอธภายใน 2 ปีข้างหน้านี้พบว่า ไม่ได้ปราศจากความเป็นไปได้เสียทีเดียว เพียงแต่อาจต้องใช้เวลามากกว่านั้นอีกเล็กน้อย และผลที่ได้จะไม่ใช่ช้างแมมมอธขนยาวตัวเป็น ๆ วิ่งโลดแล่นในทุ่งหญ้าของไซบีเรียอย่างที่หลายคนจินตนาการไว้ แต่อาจเป็นเซลล์ตัวอ่อนของ "ลูกครึ่งแมมมอธ" เพียงเซลล์เดียวเท่านั้น
ช้างแมมมอธขนยาวไม่ใช่สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วชนิดแรกที่วิทยาศาสตร์ช่วยให้คืนชีพขึ้นมาอีกครั้ง แต่เป็นแพะภูเขา Pyrenean ibex ซึ่งห้องทดลองในสเปนเพาะสัตว์ชนิดนี้ขึ้นมาใหม่ได้สำเร็จเมื่อปี 2003 แม้มันจะมีชีวิตอยู่หลังลืมตาดูโลกได้เพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น

ในกรณีของช้างแมมมอธขนยาว วิทยาการนำสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วให้กลับคืนชีพมาอีกครั้ง ได้ล้ำหน้าไปจากเทคนิคของเมื่อสิบกว่าปีก่อนอย่างก้าวกระโดด แต่ก็ยังต้องใช้หลักการโดยทั่วไปอย่างเดิม โดยในขั้นแรกต้องสร้างเซลล์ของแมมมอธเซลล์แรกขึ้นมาให้ได้ก่อน แล้วจึงกระตุ้นให้กลายเป็นตัวอ่อน และเพาะเลี้ยงตัวอ่อนจนกลายเป็นแมมมอธทั้งตัว ซึ่งในกรณีของศาสตราจารย์เชิร์ชนั้นเชื่อว่าจะสามารถสร้างเซลล์แรกและตัวอ่อนของ
ช้างแมมมอธได้ภายในสองสามปีข้างหน้านี้

ชี้โลกสิ้นแมมมอธขนยาวฝูงสุดท้ายเพราะกรรมพันธุ์บกพร่องตลอดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ศาสตราจารย์เชิร์ชและคณะสามารถนำยีนของแมมมอธขนยาวใส่เข้าไปในพันธุกรรมของช้างเอเชีย ซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับแมมมอธที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันได้ 45 ตำแหน่งแล้ว ซึ่งยีนเหล่านี้จะทำให้ได้ลูกช้างที่มีขนยาวหนา มีไขมันสะสมจำนวนมาก ทั้งมีฮีโมโกลบินในเลือดชนิดพิเศษที่ทำให้อาศัยอยู่ในอุณหภูมิต่ำได้ดีเหมือนช้างแมมมอธในยุคน้ำแข็งอีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม ช้างเอเชียยังคงมียีนที่แตกต่างจากแมมมอธขนยาวอีกกว่า 1,600 ตำแหน่ง ซึ่งทำให้ลูกช้างที่จะเกิดมาจากการคืนชีพช้างแมมมอธขนยาวในครั้งนี้ ไม่ใช่แมมมอธ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นลูกครึ่งที่มียีนช้างเอเชียอยู่เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งศาสตราจารย์เชิร์ชอยากเรียกมันว่า "แมมโมแฟนต์" (Mammophant) หรือ "เอเลมอธ" (Elemoth) มากกว่า แม้มันจะมีลักษณะภายนอกดูคล้ายช้างแมมมอธขนยาวมากก็ตาม
แม้จะสามารถสร้างเซลล์แรกของช้างลูกครึ่งแมมมอธขึ้นมาได้แล้ว ก็ยังจะต้องผ่านด่านการทำให้เป็นตัวอ่อนซึ่งยากลำบากไม่แพ้กัน โดยต้องนำดีเอ็นเอของลูกครึ่งแมมมอธไปใส่ในเซลล์ไข่เปล่า ๆ ของช้างเอเชีย ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับการโคลนนิ่งนั่นเอง แต่เทคนิคนี้ก็ยังมีปัญหาอย่างมาก 

เพราะนักวิทยาศาสตร์ยังขาดความเข้าใจอย่างละเอียดในกระบวนการโคลนนิ่ง ทำให้ไม่สามารถแน่ใจได้ว่าจะใช้กับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่อย่างช้างได้หรือไม่ ดังนั้นจึงอาจต้องมีการทดลองโคลนนิ่งช้างเอเชียก่อน โดยต้องเก็บไข่จากช้างตัวหนึ่ง และนำตัวอ่อนไปไว้ในครรภ์ของแม่ช้างอีกตัวหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นการยากและอันตรายกับช้าง

ซึ่งปัจจุบันเป็นสัตว์ที่มีจำนวนลดลงจนอยู่ในระดับใกล้เสี่ยงสูญพันธุ์
โครงกระดูกแมมมอธขนยาวเพศผู้ที่ถูกนำออกมาประมูลที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ 3 ปีก่อน มีความสูงสามเมตรครึ่ง ยาวห้าเมตรครึ่ง และอาจมีน้ำหนักถึงหกตัน ขณะที่ยังมีชีวิต
โครงกระดูกแมมมอธขนยาวเพศผู้ที่ถูกนำออกมาประมูลที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ 3 ปีก่อน มีความสูงสามเมตรครึ่ง ยาวห้าเมตรครึ่ง และอาจมีน้ำหนักถึงหกตัน ขณะที่ยังมีชีวิต
อย่างไรก็ตาม
ศาสตราจารย์เชิร์ชหวังว่าจะสามารถคืนชีพช้างแมมมอธขนยาวได้ โดยไม่ต้องรบกวนการดำรงชีวิตของช้างในปัจจุบัน โดยอาจใช้เทคนิคการเพาะเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์จากผิวหนังช้างเอเชีย แล้วนำไปกระตุ้นให้กลายเป็นเซลล์ไข่ ส่วนตัวอ่อนนั้นสามารถนำไปเพาะเลี้ยงใน "ครรภ์ประดิษฐ์" หรือมดลูกที่สร้างขึ้นโดยไม่ต้องให้แม่ช้างอุ้มท้องได้ โดยปัจจุบันห้องทดลองของเขาได้พัฒนาครรภ์ประดิษฐ์นี้ จนสามารถเลี้ยง
ตัวอ่อนหนูให้เติบโตได้นานเป็นเวลา 10 วันแล้ว

เพาะเลี้ยงตัวอ่อนลูกครึ่งช้างแมมมอธให้เติบโตนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะลูกช้างมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากเท่าเครื่องซักผ้า 
ทั้งสูตรของสารอาหารที่หล่อเลี้ยงตัวอ่อนในครรภ์นั้นก็น่าจะแตกต่างกันไปในสัตว์แต่ละชนิด ซึ่งต้องมาคิดค้นกันต่อ

นอกจากนี้ ยังมีคำถามด้วยว่าควรจะคืนชีพให้สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วดีหรือไม่ เพราะมันอาจไม่สามารถมีชีวิตรอดในโลกปัจจุบัน ซึ่งสภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการอยู่อาศัยได้สูญสิ้นไปแล้ว หรือเงื่อนไขที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์แต่แรกนั้นยังอาจคงอยู่ สัตว์ที่คืนชีพมาใหม่ยังอาจกลายเป็นศัตรูพืชหรือตัวทำลายสมดุลของระบบนิเวศ ส่งผลกระทบไม่พึงประสงค์ต่อคนและสัตว์
ชนิดอื่น ๆ ได้ด้วย

รายการบล็อกของฉัน

  • The Dark Hedges ความงามที่มีอยู่จริง - The Dark Hedges ความงามที่มีอยู่จริง สู่ความงดงามในภาพยนตร์ *https://s.shopee.co.th/4L1GeKQXR2* ต้นไชยา คะน้าแม็กซิกัน แม็กซิโก ปลอดสาร ผัก กิ่งชำ เมล็ดพ...
    2 เดือนที่ผ่านมา
  • สยบอาการ ปวดฟัน ด้วย 7สมุนไพร - *สยบอาการ ปวดฟัน ด้วย 7สมุนไพร* แก้ปวดฟันด้วยวิธีธรรมชาติ อะไรทำให้ปวดฟัน..อาการปวดฟัน (toothache) ส่วนใหญ่มีผลมาจากฟันผุ ซึ่งในระยะเริ่มแรกจะมีลักษณะเสีย...
    2 เดือนที่ผ่านมา
  • หมูนรกเอนเทโลดอนต์ - หมูนรกเอนเทโลดอนต์ ด้วยน้ำหนัก 2,000 ปอนด์และมีเขี้ยวขนาดเท่าแขน ทำให้เอนเทโลดอนต์ได้รับสถานะเป็น "หมูนรก" ของอเมริกาเหนือยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัตว์ร้า...
    2 สัปดาห์ที่ผ่านมา
  • มาดูกันว่าสิ่งมีชีวิตจะโผล่ขึ้นมาจากคอห่านส้วมได้อย่างไร - มาดูกันว่าสิ่งมีชีวิตจะโผล่ขึ้นมาจากคอห่านส้วมได้อย่างไร ค้นหา ʕ•ᴥ•ʔ ถ้าอ่านแล้วชอบใจ แชร์ต่อด้วยนะจ๊ะ ♡ เมื่อวันก่อนหลายท่านคงได้ยินข่าวงูเหลือมตัวเท่า...
    3 ปีที่ผ่านมา