Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพุธที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2566

นักโบราณคดีชี้ โบราณสถานในป่าสกอตแลนด์ อาจเป็นโรงกลั่นวิสกี้เถื่อนจากศตวรรษที่ 18


ลึกเข้าไปในป่า Loch Ard ทางตอนเหนือของเมืองกลาสโกว์ประเทศสกอตแลนด์ราวๆ 30 กิโลเมตร ยังคงมีโบราณสถานสร้างจากหินสองแห่งหลับใหลอยู่

มันถูกเรียกโดยกลุ่มนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นว่า “Wee Bruach Caoruinn” และ 
“Big Bruach Caoruinn” อาคารจากศตวรรษที่ 18 ซึ่งถูกสร้างขึ้นกลางป่าห่างกันราวๆ 200 เมตร และในอดีตน่าจะเคยถูกใช้งานเป็นโรงกลั่นวิสกี้ผิดกฎหมายมาก่อน

นักโบราณคดีได้ข้อสรุปที่น่าสนใจนี้มาจาก แหล่งที่ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำและชุมชนสำคัญหลายแห่ง บวกกับการเข้าตรวจสอบอาคารทั้งสองด้วยระบบเลเซอร์สแกนจำลองโมเดล 3 มิติในพื้นที่ ซึ่งพบกับร่องรอยของเตาอบแห้งข้าวโพดขนาดใหญ่ ช่วยยืนยันความคิดของพวกเขาอีกชั้น


อ้างอิงจากคุณ Matt Ritchie นักโบราณคดีผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบอาคารทั้งสอง ย้อนกลับไปในช่วงปี 1788 รัฐบาลของสกอตแลนด์ได้ออกกฎหมาย “Excise Act” ขึ้นมา

เป็นการสั่งห้ามเปิดโรงกลั่นสุราที่มีกำลังการผลิตน้อยว่า 450 ลิตร ส่งผลทำให้ผู้ผลิตรายย่อยส่วนมากต้องถูกสั่งปิดในกรณีที่โรงกลั่นของพวกเขาถูกตรวจพบ

นับว่าเป็นโชคดีของเจ้าของโรงกลั่นแห่งนี้ ที่ดูเหมือนว่ากิจการของเขาจะไม่ถูกทางภาครัฐพบเลยตลอดช่วงศตวรรษที่ 18-19 ยืนยันได้จากหลักฐานเครื่องมือที่ใช้ในกลั่นในโรงงาน (กรณีที่ถูกพบเครื่องมือเหล่านี้จะถูกยึดไป)

ภาพจำลองของโรงกลั่นวิสกี้แห่งนี้ ในตอนที่ยังมีการใช้งาน

ความสามารถในการหลบเลี่ยงการจับกุมเช่นนี้ มีปัจจัยหลักมาจากการที่โรงกลั่นถูกสร้างขึ้นมาในป่าลึก ซึ่งทำให้พวกเขาถูกพบได้ยาก จนสามารถขายวิสกี้ให้กับเมืองรอบๆ อย่างกลาสโกว์และได้กำไรมากกว่าสุราทั่วไป เนื่องจากพวกเขาไม่ต้องจ่ายภาษี

ความได้เปรียบในจุดนี้ทำให้ตัวโรงงานมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ก่อนที่มันจะถูกทิ้งไปในช่วงปี 1840 ด้วยเหตุผลอะไรบางอย่าง และหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบันในสภาพของโบราณสถานในที่สุด

เปิดตำนาน 7 เมืองที่หายสาบสูญไปของโลก

😁เปิดตำนาน 7 เมืองที่หายสาบสูญไปของโลก อารยธรรมที่ครั้งหนึ่งเคยรุ่งเรืองมาก่อน

🎆โลกของเรามีอยู่มาอย่างยาวนานและเกิดการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการที่ไม่รู้จบ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าสิ่งที่เราเห็นและรับรู้ได้ในปัจจุบันยังคงไม่ใช่ทุกสิ่งที่โลกเรามีหรือเคยมี
👉วันนี้ จึงชวนให้เพื่อนๆ มารู้จักกับ 7 ตำนานเมืองที่สาบสูญไปของโลก ที่ความเป็นจริงแล้วในสมัยก่อนเราอาจเคยมีอารยธรรมที่รุ่งเรืองมากกว่าตอนนี้ก็เป็นได้ เราไปดู
กันเลย....
1️⃣ Lemuria
จากการสันนิษฐานของนักวิชาการชาวอังกฤษเชื่อว่าดินแดนแห่งนี้เชื่อมระหว่างศรีลังกา ออสเตรเลีย และเกาะมาดากัสการ์รวมกันเป็นแผ่นดินใหญ่ก่อนที่จะจมหายไปใต้ก้นมหาสมุทร และชื่อ Lemuria ถูกตั้งมาจากชื่อของตัว ลีเมอร์ (Lemur) ซึ่งเป็นสัตว์ที่สามารถพบเห็นได้จากทั้งสามแห่ง
นอกจากนั้นก็มีความเชื่อว่าดินแดนแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของชาวทมิฬ กลุ่มประชากรที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอีกด้วย โดยตามภาษาทมิฬแล้วที่แห่งนี้จะมีชื่อว่า Kumari Kandam
2️⃣ Mu
เป็นดินแดนที่เชื่อว่าเคยอยู่ระหว่างทวีปอเมริกาและเอเชีย คาดว่าเป็นที่อยู่อาศัยของประชากร Naacals ต้นกำเนิดของมนุษย์ที่ย้อนกลับไปเมื่อ 50,000 ปีที่แล้ว ผู้สร้างพีระมิดในอียิปต์หรือชาวมายันก็ถูกสันนิษฐานว่าจะอพยพออกมาจากดินแดนแห่งนี้ในตอนที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่จนทำให้สถานที่นี้จมลงไปใต้มหาสมุทร
เคยมีทฤษฎีที่บอกเอาไว้ด้วยว่าโขดหินใต้น้ำโยนากุนิ ในประเทศญี่ปุ่น เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงถึงการมีอยู่ของ Mu
3️⃣ Beringia
ดินแดนที่เปรียบได้กับสะพานขั้นกลางระหว่างทวีปเอเชียและอเมริกาเหนือ ก่อนที่จะจมหายพร้อมกับการสิ้นสุดยุคน้ำแข็งเมื่อ 12,000 ปีก่อนเพราะการอพยพของสัตว์มากมายจนอาจทำให้พื้นน้ำแข็งต้องจมลงไป...
มีทฤษฎีที่เชื่อว่า 25,000 ปีก่อนมีผู้คนย้ายถิ่นฐานมาจากไซบีเรีย ผ่านไป 10,000 ปีพวกเขาได้อพยพไปอเมริกาเหนือและค่อยกระจายลงไปอเมริกาใต้ จึงเชื่อว่าพวกเขาอาจเป็นบรรพบุรุษของชาว Mesoamerica รวมถึงชนพื้นเมืองที่เรียกกันว่าอินเดียแดง
4️⃣ Doggerland
Doggerland เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ที่เคยตั้งอยู่ระหว่างอังกฤษกับเดนมาร์ก เหมาะแก่การล่าสัตว์และหาปลาจนได้รับความนิยมจาก
ผู้คนในช่วงยุคหินกลางเมื่อ 12,000 ปีก่อน...
การหายไปของสถานที่แห่งนี้เกิดจากคลื่นสึนามิลูกใหญ่สูงกว่า 7 เมตรทำให้เกิดแผ่นดินถล่มและจมลงสู่ก้นทะลในที่สุด ต่อมานักดำน้ำได้ค้นพบซากของสัตว์สูญพันธุ์ กระโหลกของบรรพบุรุษมนุษย์และอาวุธโบราณในบริเวณดังกล่าวใต้ทะเลเหนือ
5️⃣ Iram of the Pillars
เมืองนี้มีการบันทึกเอาไว้ในคัมภีร์
อัลกุรอานว่าเป็นสถานที่แห่งความร่ำรวยเต็มไปด้วยเสาที่แสดงถึงความสูงส่ง แต่ผู้คนในเมืองที่เรียกกันว่าชาว Ad ได้เลิกนับถืออัลเลาะห์ ทำให้พวกเขาเจอกับพายุทรายเข้าถล่มอย่างหนักนาน 8 วัน 7 คืนและจมอยู่ใต้ทะเลทรายในที่สุด...
ฟังดูเหมือนเป็นเพียงเรื่องเล่า แต่ในปี 1991 ได้มีการค้นพบเศษซากของการมีอยู่จริงของเมืองนี้ในประเทศโอมาน
6️⃣ Zealandia
สถานที่แห่งนี้ถูกคาดการณ์เอาไว้ว่าจมลงไปเพราะการเกิดแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงเมื่อ 70 ล้านปีก่อน มีส่วนที่เหลือรอดอยู่บนผิวน้ำแค่ 7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งในปัจจุบันได้กลายเป็นประเทศนิวซีแลนด์ แต่ผู้เชี่ยวชาญก็เชื่อว่าส่วนที่จมไปจะกลับขึ้นมาอีกครั้งถ้าหากระดับน้ำทั่วโลกยังคงดันตัวสูงขึ้นอยู่เรื่อยๆ
ในปี 2006 ได้มีการค้นพบฟอสซิลกรามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แสดงให้เห็นว่า Zealandia มีสิ่งมีชีวิตในลักษณะเฉพาะเป็นของตัวเองก่อนที่จะหายไป
7️⃣ Hy-Brasil
Hy-Brasil หรืออีกชื่อคือ Brasil โผล่ในแผนที่ตั้งแต่ปี 1325 จนสิ้นสุดศตวรรษที่ 19 ห่างออกไป 193 กิโลเมตรทางตะวันตกของไอร์แลนด์ สถานที่แห่งนี้จะจมอยู่ในน้ำและขึ้นมาแสดงให้เห็นในบางเวลาและเป็นต้นกำเนิดของตำนานแห่งท้องทะเลอีกหลายเรื่อง



จากคำบอกเล่าของนักเดินเรือ เกาะแห่งนี้จะถูกหมอกบังเอาไว้ตลอด ยกเว้นวันหนึ่งในรอบ 7 ปีถึงจะแสดงออกมาให้เห็นและมีการพบปราสาทหินหลังใหญ่อยู่บนเกาะ นอกจากนั้นยังมีจอมเวทย์ที่มอบเงินทองของมีค่าให้กับพวกเขาอีกด้วย อย่างไรก็ตามเรื่องทั้งหมดเป็นเพียงตำนานที่เล่ากันปากต่อปากเท่านั้น

ที่มา: Hybrid Librarian

มันไซ..การแสดงตลกในวัฒนธรรมญี่ปุ่น โบราณ ซึ่งสามารถเปรียบได้เหมือนการแสดงสแตนด์อัพคอมเมดี


มันไซ..การแสดงตลกในแสดงตลก โบราณ ซึ่งสามารถเปรียบได้เหมือนการแสดงสแตนด์อัพคอมเมดี

มันไซ (ญี่ปุ่น: 漫才; โรมาจิ: Manzai) เป็นการแสดงตลกในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซึ่งสามารถเปรียบได้เหมือนการแสดงสแตนด์อัพคอมเมดี


คู่ผู้แสดงมันไซในงานเฉลิมฉลองขึ้นปีใหม่ โดยคนขัดจังหวะ (สึกโกมิ) อยู่ด้านหน้า และคนใสซื่อ (โบเกะ) อยู่ด้านหลัง (ไม่ทราบศิลปิน ภาพวาดญี่ปุ่นช่วงศตวรรษที่ 19)


โดยทั่วไปแล้ว มันไซจะประกอบไปด้วยผู้แสดงสองคน (ญี่ปุ่น: 漫才師; โรมาจิ: Manzaishi) ได้แก่ คนขัดจังหวะ (ญี่ปุ่น: 突っ込み; โรมาจิ: Tsukkomi; ทับศัพท์: สึกโกมิ; สอดเข้า, ขัดจังหวะ) และ คนใสซื่อ (ญี่ปุ่น: ボケ; โรมาจิ: Boke; ทับศัพท์: โบเกะ (มาจากคำว่า 呆ける ซึ่งหมายถึงเติบโตอย่างไร้เดียงสา)) รับและส่งมุกตลก (เปรียบเสมือนการชง-ตบ) ด้วยความเร็ว ส่วนใหญ่จะเป็นมุกตลกที่เล่าถึงสถานการณ์การที่ต่างคนต่างเข้าใจผิด พูดไร้สาระ หรือคำพูดสองแง่สองง่าม


ในปัจจุบัน มันไซจะถูกเล่นในแถบโอซากะและผู้แสดงมันไซจะใช้สำเนียงคันไซในระหว่างการทำการแสดง

ในปี ค.ศ. 1933 โยชิโมโตะ โคเกียว บริษัทความบันเทิงขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในโอซากะ ได้เริ่มมีการนำเสนอการแสดงมันไซในแบบโอซากะและการเขียนคำว่า 'มันไซ' โดยใช้อักษรคันจิ "漫 (man)" และ "才 (zai)" (เป็นหนึ่งในวิธีเขียนหลายแบบของ 'มันไซ' ในภาษาญี่ปุ่น (ดู § ชื่อเรียก ด้านล่าง) แก่ผู้ชมชาวโตเกียวได้รู้จัก ในปี 2015 นวนิยายมันไซของมาโตโยชิ นาโอกิ สปาร์ค (ญี่ปุ่น: 火花; โรมาจิ: Hibana) ได้รับรางวัลวรรณกรรมอากูตางาวะ และถูกดัดแปลงเป็นละครชุด ฮิบานะ: สปาร์ค บนเน็ตฟลิกซ์ในปี 2016 นอกจากนี้ภาพยนตร์เรื่อง เด็กอาซากุสะ ที่เล่าเรื่องราวของนักแสดงมันไซ ทาเกชิ คิตาโนะ ได้เผยแพร่บนเน็ตฟลิกซ์ในปี 2021 ด้วยเช่นกัน

ประวัติ
พบหลักฐานการแสดงมันไซเป็นครั้งแรกในเทศกาลตรุษญี่ปุ่นช่วงยุคเฮอัง ผู้แสดงมันไซสองคนที่ตอบโต้กันด้วยคำพูดที่มาจากเหล่าเทพ โดยผู้แสดงคนหนึ่งมีท่าที่หรือแสดงปฏิกิริยาตรงกันข้ามกับอีกฝ่ายหนึ่ง รูปแบบนี้ยังคงมีให้เห็นอยู่จวบจนถึงปัจจุบันในบทบาทของคนใสซื่อ (โบเกะ) และ คนขัดจังหวะ (สึกโกมิ)



ภาพพิมพ์แสดงนักแสดงมันไซสองคนในฉากปีใหม่ (ราว 1825)
ต่อมาในยุคเอโดะ การให้ความสำคัญกับอารมณ์ขันได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่นได้ออกแบบวิธีการแสดงมันไซที่แตกต่างกันไป เช่น โอวาริ มันไซ (ญี่ปุ่น: 尾張万歳; โรมาจิ: Owari Manzai) มิกาวะ มันไซ (ญี่ปุ่น: 三河万歳; โรมาจิ: Mikawa Manzai) และ ยาโมโตะ มันไซ (ญี่ปุ่น: 大和万歳) การมาถึงของยุคเมจิ ทำให้เกิด โอซากะ มันไซ (ญี่ปุ่น: 大阪万才; โรมาจิ: Ōsaka Manzai) ที่ได้เริ่มสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าในเชิงความนิยมเมื่อเทียบกับมันไซในยุคก่อน ๆ 

ซึ่งถึงแม้จะเป็นเช่นนั้น รากูโกะ ยังคงเป็นที่นิยมเสียมากกว่า[ต้องการอ้างอิง]

หลังสิ้นสุดยุคไทโช ในปี 1912 บริษัทโยชิโมโตะ โคเกียว ที่ก่อตั้งในช่วงต้น ๆ ของยุคได้คิดค้นมันไซที่ไม่มีการแสดงในเชิงเฉลิมฉลองเหมือนมันไซสมัยก่อน โดยมันไซรูปแบบใหม่ได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากและความนิยมก็ได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น รวมถึงโตเกียวด้วยเช่นกัน และประกอบกับคลื่นเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ มันไซยังถูกแสดงบนเวทีโรงละคร วิทยุ โทรทัศน์ และวิดีโอเกมจับ


ชื่อเรียก
คันจิสำหรับคำว่า 'มันไซ' สามารถเขียนได้หลายแบบ โดยดั่งเดิมแล้วเขียนแล้วมีความหมายว่า "หมื่นปี" (ญี่ปุ่น: 萬歳; โรมาจิ: Banzai; ทับศัพท์: บันไซ) ที่ใช้คันจิ 萬 (man) แทนที่จะใช้คันจิอีกตัวที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน 万 และคันจิที่ง่ายกว่า 才 แทนที่ 歳 (สามารถเขียนเพื่อสื่อความหมาย 'ความสามารถ') การมาถึงของ โอซากะ มันไซ ทำให้มีการเปลี่ยนคันจิตัวแรกเป็น 漫 ที่อ่านออกเสียงเหมือนกัน

โบเกะ และ สึกโกมิ
โบเกะ และ สึกโกมิ ถือว่าเป็นลักษณะเด่นที่สำคัญของมันไซ ซึ่งสามารถเปรียบเสมือนได้กับการชง-ตบของการแสดงตลกในประเทศไทย คนใสซื่อ (ญี่ปุ่น: ボケ; โรมาจิ: Boke; ทับศัพท์: โบเกะ) มาจากคำกริยา โบเกรุ (ญี่ปุ่น: 惚ける/呆ける; โรมาจิ: Bokeru) ที่มีความหมายว่า "เติบโตอย่างไร้เดียงสา" 

ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการตีความที่ผิดพลาดและการลืมสิ่งที่พึ่งพูดออกไปในระยะเวลาอันรวดเร็วของผู้ที่รับบทเป็นโบเกะ และคำว่า สึกโกมิ (ญี่ปุ่น: 突っ込み; โรมาจิ: Tsukkomi) หมายถึงผู้แสดงมันไซที่มีหน้าที่ขัดจังหวะ พูดแทรก หรือแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้องของโบเกะ 



โดยทั่วไปแล้วสึกโกมิจะตำหนิติเตียนโบเกะ และตีศีรษะด้วยพัดลมกระดาษพับที่เรียก ฮาริเซ็ง (ญี่ปุ่น: 張り扇; โรมาจิ: Harisen) นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงมันไซอื่น ๆ เช่น กลองเล็กที่มักจะถือและใช้โดยโบเกะ ไม้ไผ่ญี่ปุ่น หรือร่มกระดาษ เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง] อุปกรณ์ประกอบการแสดงเหล่านี้จะใช้ในการแสดงมันไซที่ไม่มีความจริงจังเท่านั้น เนื่องจากการแสดงมันไซแบบดั้งเดิมหรือการแข่งขันจะบังคับไม่ให้มีการใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง 

อีกทั้งยังทำให้การแสดงตลกนี้เป็นเหมือนกับ คนโตะ (การแสดงตลกที่ให้ความสำคัญกับอุปกรณ์และฉากประกอบการแสดง) มากกว่าการแสดงมันไซ

รายการบล็อกของฉัน