Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

นักวิทย์คาด บรรพบุรุษ คนแคระ ตัวหดเล็กลงในช่วงระยะเวลาไม่นานหลังเหยียบเกาะฟลอเรสในอินโดฯ

แฟ้มภาพถ่ายเมื่อ 27 ตุลาคม 2004 เป็นภาพถ่ายเปรียบเทียบขนาดกระโหลกคนแคระหรือฮอบบิต (กลาง) ซึ่งถูกพบเมื่อปี 2003 บนเกาะฟลอเรสประเทศอินโดนีเซีย 
นักวิทยาศาสตร์พบซากกระดูกสิ่งมีชีวิตที่คาดว่าเป็นบรรพบุรุษของคนแคระ (Hobbit; มนุษย์ดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Homo floresiensis) บนเกาะฟลอเรส ประเทศอินโดนีเซีย อายุกว่า 7 แสนปี

กระดูกที่พบประกอบด้วยกระดูกกรามของผู้ใหญ่หนึ่งชิ้น และฟันจากมนุษย์อย่างน้อย 3 คน รวมถึงฟันน้ำนม 2 ชิ้นที่เป็นของทารกคนละคน
ยูสึเกะ ไคฟุ (Yousuke Kaifu) 

นักบรรพชีวินวิทยาและมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสาขาธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่นกล่าวว่า “ฟอสซิลทั้งหมดที่พบมีลักษณะของมนุษย์วานร (hominin) อย่างไม่ต้องสงสัย และมันก็คล้ายกับ Homo floresiensis เป็นอย่างมาก” 
(Live Science)
“สิ่งที่คาดไม่ถึงจริงๆ ก็คือขนาดของกระดูกที่พบแสดงว่า Homo floresiensis มีขนาดเล็กมาแล้วอย่างน้อยตั้งแต่เมื่อ 700,000 ปี ก่อน” ไคฟุกล่าว

ทั้งนี้ Homo floresiensis ถูกพบเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2003 คาดกันว่ามนุษย์วานรกลุ่มนี้อาศัยอยู่บนโลกเมื่อราว 60,000-100,000 ปีก่อน และน่าจะวิวัฒนาการมาจาก Homo erectus ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์สมัยใหม่เช่นกัน

“เราคาดว่าจะพบกระดูกที่ใหญ่กว่าที่เราเจอ อย่างน้อยก็ควรจะใกล้เคียงกับขนาดของต้นตระกูลของมันอย่าง Homo erectus แต่ปรากฏว่ามันกลับมีขนาดเล็ก หรืออาจจะเล็กว่า 
Homo floresiensis ซะอีก” ดร.เกิร์ต ฟาน เดน เบิร์ก (Gert van den Bergh) หัวหน้าคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยโวลลองกอง (Wollongong) ประเทศออสเตรเลียกล่าว

“การวิวัฒนาการเกิดขึ้นเร็วมาก แต่เราก็ไม่ตัวอย่างของมนุษย์หรือลิงใหญ่ (ที่หดเล็กลง) จากเกาะอื่นๆมาเปรียบเทียบ”
การหดเล็กของของมนุษย์ดึกดำบรรพ์บนเกาะฟลอเรส มาจากทฤษฎีว่าด้วยการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่มีทรัพยากรจำกัด แต่ Homo erectus เป็นมนุษย์ยุคแรกซึ่งไม่สามารถสร้างเรือได้และเกาะฟลอเรสก็ไกลจากเกาะชวาเกินกว่าที่พวกเขาจะว่ายน้ำไปถึงได้ ทำให้นักวิจัยเชื่อว่า มนุษย์บรรพกาลกลุ่มนี้อาจถูกคลื่นยักษ์พัดพาเข้าไปติดเกาะ

นักวิทย์คาด บรรพบุรุษ “คนแคระ” ตัวหดเล็กลงในช่วงระยะเวลาไม่นานหลังเหยียบเกาะฟลอเรสในอินโดฯ

นักวิทยาศาสตร์พบซากกระดูกสิ่งมีชีวิตที่คาดว่าเป็นบรรพบุรุษของคนแคระ (Hobbit; มนุษย์ดึกดำบรรพ์ขนาดเล็กมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Homo floresiensis) บนเกาะฟลอเรส ประเทศอินโดนีเซีย อายุกว่า 7 แสนปี

กระดูกที่พบประกอบด้วยกระดูกกรามของผู้ใหญ่หนึ่งชิ้น และฟันจากมนุษย์อย่างน้อย 3 คน รวมถึงฟันน้ำนม 2 ชิ้นที่เป็นของทารกคนละคน
ยูสึเกะ ไคฟุ (Yousuke Kaifu) นักบรรพชีวินวิทยาและมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสาขาธรรมชาติและวิทยาศาสตร์ของญี่ปุ่นกล่าวว่า “ฟอสซิลทั้งหมดที่พบมีลักษณะของมนุษย์วานร (hominin) อย่างไม่ต้องสงสัย และมันก็คล้ายกับ Homo floresiensis เป็นอย่างมาก” (Live Science)
“สิ่งที่คาดไม่ถึงจริงๆ ก็คือขนาดของกระดูกที่พบแสดงว่า Homo floresiensis มีขนาดเล็กมาแล้วอย่างน้อยตั้งแต่เมื่อ 700,000 ปี ก่อน” ไคฟุกล่าว

ทั้งนี้ Homo floresiensis ถูกพบเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2003 คาดกันว่ามนุษย์วานรกลุ่มนี้อาศัยอยู่บนโลกเมื่อราว 60,000-100,000 ปีก่อน และน่าจะวิวัฒนาการมาจาก Homo erectus ซึ่งถือเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์สมัยใหม่เช่นกัน
“เราคาดว่าจะพบกระดูกที่ใหญ่กว่าที่เราเจอ อย่างน้อยก็ควรจะใกล้เคียงกับขนาดของต้นตระกูลของมันอย่าง Homo erectus แต่ปรากฏว่ามันกลับมีขนาดเล็ก หรืออาจจะเล็กว่า Homo floresiensis ซะอีก” ดร.เกิร์ต ฟาน เดน เบิร์ก (Gert van den Bergh) หัวหน้าคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยโวลลองกอง (Wollongong) ประเทศออสเตรเลียกล่าว

“การวิวัฒนาการเกิดขึ้นเร็วมาก แต่เราก็ไม่ตัวอย่างของมนุษย์หรือลิงใหญ่ (ที่หดเล็กลง) จากเกาะอื่นๆมาเปรียบเทียบ”
การหดเล็กของของมนุษย์ดึกดำบรรพ์บนเกาะฟลอเรส มาจากทฤษฎีว่าด้วยการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่มีทรัพยากรจำกัด แต่ Homo erectus เป็นมนุษย์ยุคแรกซึ่งไม่สามารถสร้างเรือได้และเกาะฟลอเรสก็ไกลจากเกาะชวาเกินกว่าที่พวกเขาจะว่ายน้ำไปถึงได้ ทำให้นักวิจัยเชื่อว่า มนุษย์บรรพกาลกลุ่มนี้อาจถูกคลื่นยักษ์พัดพาเข้าไปติดเกาะ

ขณะที่ศาสตราจารย์ คริส สตริงเกอร์ (Cris Stringer) มองว่าสิ่งที่พบจะถือเป็นหลักฐานของทฤษฎีที่อ้างว่าการวิวัฒนาการคล้ายเป็นคนแคระเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นยังอ่อนเกินไป
“เรายังไม่รู้ว่าสิ่งมีชีวิตที่รู้จักสร้างเครื่องมือเมื่อล้านปีก่อนตัวใหญ่แค่ไหนอย่างแน่ชัด เพราะเรายังไม่เจอฟอสซิลของพวกเขาเลย ลำดับต่อไปก็คือเรายังไม่อาจแน่ใจได้ว่า (หากมีการพบ) หลักฐานจากล้านปีก่อน แล้วจะถือได้ว่าพวกเขาเป็นมนุษย์กลุ่มแรกบนเกาะฟลอเรส” สตริงเกอร์กล่าว (BBC)

(หมายความว่า ต่อให้พบซากกระดูกอายุล้านปี แต่ก็อาจจะพบกระดูกที่เก่าแก่กว่านั้นได้ ซึ่งยากต่อการสรุปว่า ระยะเวลาของการวิวัฒนการกินเวลานานเท่าไรแน่)
ข้อมูลจาก:
 “Miniature ‘Hobbit’ Humans Had Even Smaller Ancestors”. Live Science.

วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ความเหมือนที่แตกต่างของมนุษย์กับหุ่นยนต์


ความเหมือนที่แตกต่างของมนุษย์กับหุ่นยนต์
แม็กซ์ อากิเรลา-เฮลเวก ช่างภาพชื่อดังชาวอเมริกัน เปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ที่ใช้ชื่อว่า "Humanoid" ซึ่งค้นหาความหมายของการเป็นมนุษย์ ด้วยการเดินทางไปรอบโลกเพื่อถ่ายภาพของหุ่นยนต์ประเภทต่าง ๆ เช่น "แอนดรอยด์" ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้มีลักษณะคล้ายมนุษย์ "ฮิวแมนนอยด์" หุ่นยนต์ที่ออกแบบให้มีพื้นฐานมาจากร่างกายมนุษย์ สามารถเคลื่อนไหวคล้ายมนุษย์ และ "เจมินอยด์" ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่เลียนแบบคนจริงทุกประการ

หนึ่งในประเทศที่ อากิเรลา-เฮลเวก เดินทางไปถ่ายภาพสำหรับหนังสือเล่มนี้คือญี่ปุ่น ซึ่งมีเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ที่ก้าวหน้าที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเขาได้ร่วมงานกับ ศ.ฮิโรชิ อิชิกุโร ผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์จากมหาวิทยาลัยโอซากา ผู้พัฒนาหุ่นเจมินอยด์และบัญญัติศัพท์นี้ขึ้นเป็นคนแรก

ศ.อิชิกุโร สร้างหุ่นยนต์เลียนแบบตัวเอง ที่เรียกว่า "เจมินอยด์" เพื่อศึกษาการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์และหุ่นยนต์ บรรดาผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ต่อไปหุ่นยนต์จะถูกพัฒนาให้เหมือนมนุษย์จนแยกไม่ออก
ปัจจุบันหลายประเทศได้หันมาให้ความสนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์ สำหรับนำมาช่วยงานของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ 

โดยเมื่อไม่นานมานี้ บริษัทแฮนสัน โรบอติกส์ ในฮ่องกง ได้เปิดตัว "โซเฟีย" หุ่นยนต์ที่ถูกออกแบบให้มีรูปร่างหน้าตาละม้ายคล้ายกับดาราฮอลลีวูดผู้ล่วงลับ ออเดรีย เฮปเบิร์น ทั้งยังมีลักษณะและอากัปกิริยาคล้ายคลึงกับมนุษย์ โดยบริษัทตั้งความหวังว่าสักวันหนึ่งจะสร้างหุ่นยนต์ที่มีความเฉลียวฉลาดเกินคน เข้าอกเข้าใจ และเห็นใจคนอื่นขึ้นมาได้สำเร็จ

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

หนึ่งในภูเขาน้ำแข็งลูกใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้ได้แตกตัวจากทวีปแอนตาร์กติกา


หนึ่งในภูเขาน้ำแข็งลูกใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้ได้แตกตัวจากทวีปแอนตาร์กติกา
แผ่นน้ำแข็งมหึมาแตกตัวออกจากบริเวณชั้นน้ำแข็งที่เรียกว่า "ลาร์เซน ซี" บนทวีปแอนตาร์กติกา กลายเป็นภูเขาน้ำแข็งที่มีความหนา 200 เมตรและกินพื้นที่ 6,000 ตร. กม. แม้ว่าภูเขาน้ำแข็งนี้จะเคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ และไปไม่ไกลนัก กระแสน้ำและลมอาจจะพัดพามันไปทางตอนเหนือของทวีปแอนตาร์กติกา และเป็นอันตรายต่อการเดินเรือขนส่งในที่สุด

การแตกตัวนี่เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้หลังจากติดตามเฝ้าดูรอยร้าวขนาดใหญ่บนชั้นน้ำแข็งนี้มากว่า 10 ปี โดยรอยแตกนี้เริ่มขยายวงกว้างอย่างรวดเร็วตั้งแต่ ปี 2014
รอยแยกผืนน้ำแข็งลาร์เซ่นขยายตัวต่อเนื่อง
เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เครื่องมือจับสัญญาณอินฟราเรดบนดาวเทียมอะควา (Aqua)

ของสหรัฐอเมริกาเผยให้เห็นน้ำใสบริเวณรอยแยกระหว่างชั้นน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็ง โดยน้ำบริเวณนี้มีอุณหภูมิสูงกว่าน้ำแข็งและ
อากาศรอบ ๆ

ศ.เอเดรียน ลัคแมน จากมหาวิทยาลัยสวอนซี ผู้ติดตามปรากฏการณ์นี้อย่างใกล้ชิดบอกว่า เห็นได้ชัดเจนว่าแผ่นน้ำแข็งได้แยกตัวออกจากชั้นน้ำแข็งแล้วตลอดแนวแล้ว

นักวิทยาศาสตร์คิดว่า ชั้นน้ำแข็งลาร์เซน ซี อยู่ในช่วงที่มีขนาดเล็กที่สุด นับตั้งแต่ยุคน้ำแข็งเมื่อปี 11,700 ปีก่อน อย่างไรก็ตาม การแยกตัวของแผ่นน้ำแข็งในลักษณะนี้ก็เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ภูเขาน้ำแข็งที่แตกตัวแยกไปเพื่อที่ผืนน้ำแข็งจะสามารถคงน้ำหนักที่สมดุลไว้ได้เมื่อมีการสะสมของหิมะที่ตกลงมาใหม่และธารน้ำแข็งที่เคลื่อนตัวมาเพิ่ม

เคยมีแผ่นน้ำแข็งแยกตัวออกมาจาก "ลาร์เซน ซี" มาแล้วในอดีต อาทิ แผ่นน้ำแข็งขนาดราว 9,000 ตารางกิโลเมตรที่แยกตัวออกมาเมื่อปี 1986
อย่างไรก็ตาม ภูเขาน้ำแข็งก่อนใหม่นี้ยังถือว่ามีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับภูเขาน้ำแข็งก้อนอื่น ๆ ที่เคยพบบริเวณทวีปแอนตาร์กติกา ตัวอย่างเช่น แผ่นน้ำแข็งที่ชื่อว่า "B-15" ซึ่งแยกตัวจากผืนน้ำแข็งรอส เมื่อปี 2000 และมีขนาดราว11,000 ตารางกิโลเมตร และยังพบเศษเสี้ยวของแผ่นน้ำแข็งนี้เคลื่อนตัวผ่านไปบริเวณประเทศนิวซีแลนด์ นี่นับเป็นแผ่นน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดที่เคยถูกบันทึกไว้ในยุคที่มีเทคโนโลยีดาวเทียม
ภาพการแยกตัวของแผ่นน้ำแข็งได้รับการยืนยันจาก
ระบบดาวเทียมเซนทิเนล-1
ในปี 1956 มีรายงานว่า เรือสำหรับทลายก้อนน้ำแข็งของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาพบแผ่นน้ำแข็งขนาดราว 32,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่กว่าประเทศเบลเยียมเสียอีก แต่นั่นเป็นยุคที่ยังไม่มีเทคโนโลยีดาวเทียมบันทึกไว้ได้
เมื่อช่วงขึ้นศตวรรษที่ผ่านมา ผืนน้ำแข็งใกล้เคียงของลาร์เซน ซี สองผืนอย่าง ลาร์เซน เอ และ ลาร์เซน บี ได้สลายตัวไปและมีความเป็นไปได้สูงที่ภาวะโลกร้อนเป็นสาเหตุสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ศ.เฮเลน ฟริคเกอร์ จากสถาบันวิจัยทางสมุทรศาสตร์ Scripps บอกกับบีบีซีว่า ไม่มีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับ ลาร์เซน เอ และ ลาร์เซน บี จะเหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับ ลาร์เซน ซี และผู้เชี่ยวชาญด้านธารน้ำแข็งไม่ได้กังวลมากนักกับสิ่งที่เกิดขึ้น

สำหรับตอนนี้ นักวิจัยจะคอยเฝ้าสังเกตุการณ์ว่าชั้นน้ำแข็งลาร์เซน ซี จะมีปฏิกริยาอย่างไรต่อไป ว่าความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ และการแยกตัวของแผ่นน้ำแข็งจะดำเนินต่อไปด้วยอัตราคงที่หรือไม่

ซากฟอสซิลชี้ไดโนเสาร์บางพันธุ์ฟันร่วงหมดปากเมื่อโต


ซากฟอสซิลชี้ไดโนเสาร์บางพันธุ์ฟันร่วงหมดปากเมื่อโตไดโนเสาร์ละอ่อนกินเนื้อ ส่วนพวกโตเต็มวัยกินผักแทน

นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคปิตอล นอร์มัล ในกรุงปักกิ่ง ซึ่งศึกษาฟอสซิลไดโนเสาร์ ชื่อ Limusaurus inextricabilis ที่อาศัยอยู่ในจีนเมื่อราว 150 ล้านปีที่แล้ว พบว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้ใช้ฟันในการขบเคี้ยวเนื้อสัตว์ และใช้จะงอยปากในการจิกกินพืชผักเมื่อมันโตขึ้น จากเดิมที่เข้าใจว่าไดโนเสาร์ในตระกูลเซราโทซอเรียนนี้มีทั้งประเภทที่มีฟันและไม่มีฟัน และมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก 

อย่างไรก็ดี ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาซากฟอสซิลพบว่าแท้จริงแล้วฟันของไดโนเสาร์
ชนิดนี้จะหลุดร่วงลงไปตามกาลเวลา การค้นพบดังกล่าวสร้างความประหลาดใจให้นักวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง

ดร.สตีเฟน บรูเซทท์ แห่งมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ ซึ่งไม่ได้เป็นหนึ่งในคณะนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบดังกล่าว กล่าวว่า ไม่เคยมีใครคิดว่าจะมีไดโนเสาร์ที่เคยมีฟันเมื่อยังเป็นลูกไดโนเสาร์ตัวเล็ก ๆ แต่ฟันหลุดร่วงไปจนเหลือเพียงจะงอยปากเมื่อโตขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่เคยพบมาก่อนในซากสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น ยกเว้นสัตว์อย่างตัวตุ่นปากเป็ดในโลกยุคปัจจุบันที่มีพัฒนาการเกี่ยวกับฟันในลักษณะดังกล่าว
ด้าน ดร.สติก เวลช์ แห่งพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์ กล่าวว่า ไดโนเสาร์เปลี่ยนการกินอาหารจากที่ต้องใช้ฟันในการขบเคี้ยวเป็นการใช้จงอยปากเท่านั้นซึ่งฟันไม่มีประโยชน์อีกต่อไป ในขณะที่ไดโนเสาร์เทอโรพอดชนิดอื่นซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับไดโนเสาร์ลิมูซอรัสนี้ ล้วนเป็นไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อทั้งสิ้น

ทั้งนี้ ไดโนเสาร์ลิมูซอรัส เป็นไดโนเสาร์ในตระกูลเดียวกับไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดที่เป็นที่รู้จักอย่างทีเร็กซ์และเวโลซีแรปเตอร์ 
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าไดโนเสาร์ที่มีฟันเมื่อยังเล็กนั้นอาจจะกินทั้งพืชและสัตว์ และใช้จงอยกินพืชอย่างเดียวเมื่อมันโตขึ้น

การค้นพบครั้งนี้ช่วยอธิบายได้ว่าจะงอยปากซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของสัตว์จำพวกนก มีวิวัฒนาการมาอย่างไร ในขณะที่การสูญเสียฟันนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับสัตว์โลกยุคใหม่ ปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหลายชนิดไม่มีฟันเมื่อมันโตขึ้น เช่นเดียวกับตุ่นปากเป็ด
งานวิจัยชิ้นนี้เผยแพร่อยู่ในวารสาร 
Current Biology

พบส่วนหางของไดโนเสาร์มีขน ในก้อนอำพันเก่าแก่ 99 ล้านปี


พบส่วนหางของไดโนเสาร์มีขน ในก้อนอำพันเก่าแก่ 99 ล้านปีส่วนหางมีขนของไดโนเสาร์ขนาดเล็ก ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในก้อนอำพันซึ่งพบที่เมียนมา

วารสาร Current Biology ตีพิมพ์เผยแพร่การค้นพบส่วนหางของไดโนเสาร์ขนาดเล็กจากยุคมีโซโซอิก ซึ่งติดอยู่ในก้อนอำพันเก่าแก่ 99 ล้านปี ซึ่งได้จากเมืองมิตจินาในรัฐคะฉิ่นของเมียนมา โดยส่วนหางนี้ยังมีขนติดอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึง
การจัดเรียงตัวของขนไดโนเสาร์ซึ่งยังคงเป็นปริศนาอยู่ก่อนหน้านี้
ภาพจากจินตนาการของศิลปินแสดงให้เห็นไดโนเสาร์มีขนขนาดเล็กเท่านกกระจอกในยุคมีโซโซอิก
ก้อนอำพันดังกล่าวค้นพบโดยนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยด้านธรณีวิทยาของจีนในกรุงปักกิ่ง โดยพบในตลาดแห่งหนึ่งของรัฐคะฉิ่นซึ่งเป็นแหล่งผลิตอำพันที่มีชื่อเสียงของเมียนมามายาวนาน ซึ่งก้อนอำพันดังกล่าวถูกเจียระไนให้กลมเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับแล้ว แต่ชิ้นส่วนไดโนเสาร์ด้านในซึ่งผู้ค้านึกว่าเป็นซากพืชยังไม่ได้รับความเสียหาย
ภาพซูมให้เห็นรายละเอียดของขนที่ส่วนหางไดโนเสาร์
จากการตรวจสอบ พบว่าเป็นส่วนหางของไดโนเสาร์ชนิดหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กเท่ากับนกกระจอก โดยขนที่พบเรียงตัวอย่างสมบูรณ์ในลักษณะสามมิติ มีสีน้ำตาลที่ส่วนปลายและมีสีขาวที่ด้านใน นักวิทยาศาสตร์มั่นใจว่าส่วนหางที่พบนี้เป็นซากของไดโนเสาร์และไม่ใช่ซากของนกโบราณอย่างแน่นอนเพราะมีโครงสร้างแตกต่างกัน ทั้งยังพบว่ามีของเหลวอยู่ในซากหางนี้ด้วย ซึ่งแสดงว่าไดโนเสาร์ตัวนี้อาจจมลงในน้ำยางเหนียวของต้นไม้ที่กลายเป็นอำพันทั้งที่มันยังมีชีวิตอยู่

การค้นพบส่วนหางของไดโนเสาร์ในก้อนอำพันนี้ จะช่วยให้นักบรรพชีวินวิทยามีความเข้าใจถึงการจัดเรียงตัวของขนไดโนเสาร์มากขึ้น โดยก่อนหน้านี้ไม่สามารถทราบถึงข้อมูลในประเด็นดังกล่าวได้ เพราะซากฟอสซิลส่วนใหญ่พบในดินตะกอนที่กลายเป็นหิน ซึ่งจะทำให้แนวขนที่ติดอยู่แบนราบเปลี่ยนไปจากทรงเดิม

รายการบล็อกของฉัน