ซากฟอสซิลชี้ไดโนเสาร์บางพันธุ์ฟันร่วงหมดปากเมื่อโตไดโนเสาร์ละอ่อนกินเนื้อ ส่วนพวกโตเต็มวัยกินผักแทน
นักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยแคปิตอล นอร์มัล ในกรุงปักกิ่ง ซึ่งศึกษาฟอสซิลไดโนเสาร์ ชื่อ Limusaurus inextricabilis ที่อาศัยอยู่ในจีนเมื่อราว 150 ล้านปีที่แล้ว พบว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้ใช้ฟันในการขบเคี้ยวเนื้อสัตว์ และใช้จะงอยปากในการจิกกินพืชผักเมื่อมันโตขึ้น จากเดิมที่เข้าใจว่าไดโนเสาร์ในตระกูลเซราโทซอเรียนนี้มีทั้งประเภทที่มีฟันและไม่มีฟัน และมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก
อย่างไรก็ดี ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาซากฟอสซิลพบว่าแท้จริงแล้วฟันของไดโนเสาร์
ชนิดนี้จะหลุดร่วงลงไปตามกาลเวลา การค้นพบดังกล่าวสร้างความประหลาดใจให้นักวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง
ดร.สตีเฟน บรูเซทท์ แห่งมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ ซึ่งไม่ได้เป็นหนึ่งในคณะนักวิทยาศาสตร์ที่ค้นพบดังกล่าว กล่าวว่า ไม่เคยมีใครคิดว่าจะมีไดโนเสาร์ที่เคยมีฟันเมื่อยังเป็นลูกไดโนเสาร์ตัวเล็ก ๆ แต่ฟันหลุดร่วงไปจนเหลือเพียงจะงอยปากเมื่อโตขึ้น ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่เคยพบมาก่อนในซากสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดอื่น ยกเว้นสัตว์อย่างตัวตุ่นปากเป็ดในโลกยุคปัจจุบันที่มีพัฒนาการเกี่ยวกับฟันในลักษณะดังกล่าว
ด้าน ดร.สติก เวลช์ แห่งพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์ กล่าวว่า ไดโนเสาร์เปลี่ยนการกินอาหารจากที่ต้องใช้ฟันในการขบเคี้ยวเป็นการใช้จงอยปากเท่านั้นซึ่งฟันไม่มีประโยชน์อีกต่อไป ในขณะที่ไดโนเสาร์เทอโรพอดชนิดอื่นซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับไดโนเสาร์ลิมูซอรัสนี้ ล้วนเป็นไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อทั้งสิ้น
ด้าน ดร.สติก เวลช์ แห่งพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์ กล่าวว่า ไดโนเสาร์เปลี่ยนการกินอาหารจากที่ต้องใช้ฟันในการขบเคี้ยวเป็นการใช้จงอยปากเท่านั้นซึ่งฟันไม่มีประโยชน์อีกต่อไป ในขณะที่ไดโนเสาร์เทอโรพอดชนิดอื่นซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับไดโนเสาร์ลิมูซอรัสนี้ ล้วนเป็นไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อทั้งสิ้น
ทั้งนี้ ไดโนเสาร์ลิมูซอรัส เป็นไดโนเสาร์ในตระกูลเดียวกับไดโนเสาร์กินเนื้อชนิดที่เป็นที่รู้จักอย่างทีเร็กซ์และเวโลซีแรปเตอร์
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าไดโนเสาร์ที่มีฟันเมื่อยังเล็กนั้นอาจจะกินทั้งพืชและสัตว์ และใช้จงอยกินพืชอย่างเดียวเมื่อมันโตขึ้น
การค้นพบครั้งนี้ช่วยอธิบายได้ว่าจะงอยปากซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของสัตว์จำพวกนก มีวิวัฒนาการมาอย่างไร ในขณะที่การสูญเสียฟันนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับสัตว์โลกยุคใหม่ ปลาและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำหลายชนิดไม่มีฟันเมื่อมันโตขึ้น เช่นเดียวกับตุ่นปากเป็ด
งานวิจัยชิ้นนี้เผยแพร่อยู่ในวารสาร
Current Biology