สวนลอยแห่งบาบิโลน ชื่อสถานที่ :สวนลอยเเห่งกรุงบาบิโลน สถานที่ตั้ง :กลางทะเลทรายเมืองเเบกเเดดประเทศอิรัก
ปัจจุบัน :ทั้งสวนเเละผนังทรุดโทรมจนเเทบไม่เหลือซากเเล้ว
สวนลอยแห่งบาบิโลนนับเป็นความรุ่งเรืองเกรียงไกรยิ่ง โดยเฉพาะตำนานของคริสเตียนได้มีข้อความที่กล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของสวยลอยแห่งนี้ไว้มาก กล่าวกันว่าบาบิโลนคือสถานที่แรกๆ ของบรรพบุรุษชาวโลกในกาลก่อน และยังมีบางส่วนที่กล่าวถึงบาบิโลนในฐานะที่เป็นหอคอบสูงที่มนุษย์ใช้สำหรับหลับภัยยามน้ำท่วมโลกก่อนที่จะพังทลายลง ปัจจุบันนักวิชาการต่างพยายามค้นคว้าข้อมูลและหาตำแหน่งที่แท้จริงของสถานที่ตั้งสวนลอยว่ามีอยู่จริงหรือไม่ แต่ก็ยังไม่ได้คำตอบที่แน่ชัด
สวนลอยบาบิโลน (อังกฤษ: Hanging Gardens of Babylon) จัดเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ตั้งอยู่บนแม่น้ำยูเฟรติส ประเทศอิรักในปัจจุบัน สร้างโดยกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 3 แห่งกรุงบาบิโลเนีย สร้างให้แก่มเหสีของพระองค์ชื่อพระนางเซมีรามีส สร้างขึ้นเมื่อ 600 ปีก่อนคริสต์ศักราช สุงประมาณ 75 ฟุต กินพื้นที่ 400 ตารางฟุต ระเบียงทุกชั้นได้รับการตกแต่งด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้ยืนพุ่มชนิดต่างๆ มีระบบชลประทานชักน้ำจากแม่น้ำไทกิสไปทำเป็นน้ำตกและนำไปเลี้ยงต้นไม้ตลอดปี
ปัจจุบันสวนนี้ได้พังทลายไปหมดแล้ว
คำว่า”บาบิโลน” สำหรับคนที่เรียนประวัติศาสตร์แล้ว ฟังดูเป็นอดีตที่แสนจะห่างไกล เป็นเรื่องเล่าปะรัมปะราที่น่าทึ่ง โดยเฉพาะในเรื่องของวัฒนธรรม และความเจริญก้าวหน้าด้านวิศวกรรมการก่อสร้างที่สวยงามโด่งดัง “สวนลอยบาบิโลน”
ยิ่งเห็นภาพวาดก็ยิ่งวาดฝัน….ซักวันคงมีโอกาสได้ไปสัมผัสอู่อารยธรรมมนุษยชาติแห่งนี้…
ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ระบุว่า บาบิโลนเป็นนครของชาวเซไม้ท์กลุ่มหนึ่ง อยู่ทางภาคใต้ของบริเวณเมโสโปเตเมีย เมื่อประมาณ 2,350 ก่อน ค.ศ. ซึ่งพัฒนาต่อๆมาเป็นนครใหญ่และสวยงามมากแห่งหนึ่งของโลก มีกำแพงเมืองล้อมรอบตัวเมืองเป็นระยะทางเกือบ 8 กิโลเมตร มีหอคอยกั้นระหว่างกำแพงเป็นระยะๆ มีประตูเมือง 8 แห่ง เข้าสู่ภายในเมือง ตัวอาคารสร้างด้วยอิฐ ตรงประตูเมืองวาดภาพเป็นรูปสัตว์นับร้อยๆ ภาพ ตกแต่งสวยงาม มีถนนบนกำแพงเมืองกว้างพอให้ทหารเดินไปรอบๆเมือง เพื่อป้องกันข้าศึก
ชาวกรีกได้บันทึกไว้ว่ากำแพงเมืองบาบิโลนสูง 700 ฟุต มีความหนามาก จนส่วนบนของกำแพงกว้างพอให้รถศึกเทียมด้วยม้า4ตัว วิ่งไปบนส่วนของกำแพงได้ แต่ข้อมูลนี้ถูกโต้แย้งในเรื่องของความสูงว่า จริงๆ แล้วอาจบันทึกผิด น่าจะสูงแค่ 70 เมตร (แต่ก็นั่นแหละไม่มีใครรู้หรอกว่า ความเป็นจริงๆแท้ๆนั้นเป็นอย่างไร ลองดูรูปวาดที่มีตกทอดมาให้ดูประกอบการตัดสินใจเองแล้วกัน
สวนลอยฟ้าบาบิโลน
(The Hanging Gardens of Babylon) ได้รับยกย่องว่าเป็น
“หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก”
นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ให้ความเห็นว่า ทหารของกษัตริย์ Alexander ได้มาถึง Mesopotamia และมาถึงอาณาจักร Babylon ที่รุ่งเรือง เมื่อพวกเขากลับไปก็ไปเล่าให้ผู้คนฟังถึง สวนลอยที่สวนงาม ต้นปาลม์ พระราชวัง หอบาเบล ทำให้กวีและนักประวัติศาสตร์จินตนาการไปต่างๆนาๆ สวนลอยแห่งนี้ตั้งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำ Euphrates ซึ่งอยู่ห่างจากเมือง Baghdad เมืองหลวงของประเทศ อิรัก ประมาณ 50 Km
อาณาจักร Babylon เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยของกษัตริย์ Hammurabi (ประมาณ 1750 ปีBC) แต่นั่นยังไม่ใช่ยุคของความเจริญสูงสุดของอาณาจักรนี้ จนในสมัยของกษัตริย์ Naboplashar(ประมาณ 625 ปีBC) จึงถือว่าเป็นจุดสูงสุดหรือยุคทองของอาณาจักรบาบิโลนนี้อย่างแท้จริง โดยลูกชายของกษัตริย์ Naboplashar ที่ชื่อว่า Nebuchadnezzar ที่ 2 เป็นผู้ก่อสร้างสวนลอยแห่งบาบิโลนขึ้นมา เล่ากันว่าแรงจูงใจของพระองค์ก็คือ เป็นการ สร้างให้กับ ราชินี
หรือ นางสนมของพระองค์ เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
ภายในกำแพงเมืองเข้าไปเป็นที่ตั้งของพระราชวังกษัตริย์และวิหารทางศาสนา “ซิกูแรท” ลักษณะคล้ายปิรามิดยุคแรกๆ คือ เป็นชั้นๆ ไม่เรียบ
การที่บาบิโลนมีวิหารรูปซิกูแรท แสดงว่าได้อิทธิพลมาจากชาวสุเมเรียน ที่อาศัยในดินแดนแถบนี้มาก่อน
ซิกูแรทโบสถ์ทางศาสนาของบาบิโลนมีความสูงถึง 300 ฟุต หรือประมาณ 100 เมตรเลยทีเดียว สร้างเป็นชั้นเฉลียง 8 ชั้น มีบันไดเวียนขึ้นไปที่ยอดสูงสุด ซึ่งเป็นที่ตั้งของเทวสถาน ประชาชนที่อยู่ห่างออกไปหลายไมล์สามารถมองเห็นเทวสถานบนยอดซิกูแรทได้อย่างชัดเจน ผู้สร้างคงมีความหมายให้เทวสถานเชื่อมกับเขตแดนสวรรค์
เกษตรและการชลประทานขั้นสูง ที่สามารถยกสวนพืชไปปลูกบนพระราชวังได้อย่างสวยงาม นอกจากนั้นยังมีวิหารสวยงามและพระราชวังอีกหลายแห่งภายในบริเวณตัวเมือง ส่วนชาวบ้านสร้างที่พักด้วยดินอยู่รอบๆเมือง
กรุงบาบิโลนกลายเป็นศูนย์กลางของการค้าของประชาชนหลายกลุ่มในดินแดนเมโสโปเตเมีย จึงมีการพัฒนาความเจริญอย่างมากและรวดเร็ว มีความรู้ในการนับเลข และบวกเลข ประดิษฐ์สิ่งต่างๆเพื่อใช้คำนวณ เช่น สูตรคูณ และการใช้เลข 10 ซึ่งต่อมาชาวยุโรปได้นำมาใช้ นอกจากนั้นยังมีความรู้ด้านดาราศาสตร์สูงเนื่องจากบริเวณที่ตั้งของกรุงบาบิโลนไม่มีเมฆปิดบัง และเป็นชนกลุ่มแรกๆ ของโลกที่รู้ว่าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์อีก 5 ดวงมีความแตกต่างจากดาวดวงอื่น จนสามารถทำปฏิทินรุ่นแรกๆของโลกได้ โดยกำหนดให้หนึ่งเดือนมี 28 วัน แยกเป็น 4 สัปดาห์ๆ ละ 7 วัน โดยตั้งชื่อวันตามดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์อีก 5 ดวง
ต่อมาชาวโรมันได้เอาแนวความคิดเรื่อง 1 สัปดาห์มี 7 วันจากชาวบาบิโลน และใช้ต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ชาวบาบิโลนรู้จักการเขียน ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากชาวสุเมเรียน ไม่ใช่เขียนไว้เป็นเรื่องราวร้อยแก้วเท่านั้นแต่ยังเขียนเป็นบทกวีร้อยกรองอีกด้วย มีบทกวีหลายบทเขียนไว้บนแผ่นดินเหนียวซึ่งยังคงหลงเหลือมาถึงทุกวันนี้ เป็นการผจญภัยของกษัตริย์องค์หนึ่ง ชื่อ กิลกาเมช(Gilgamesh)ที่เดินทางไปต่อสู้กับอสูรจนสุดขอบโลก และทรงดำลึกถึงก้นมหาสมุทร นอกจากนั้นยังเขียนเรื่องราวเทพเจ้าของตนไว้มากมาย รวมถึงเรื่องน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ในคัมภีร์ไบเบิ้ลของศาสนาคริสต์ เชื่อกันว่าต้นเค้าก็มาจากเรื่องเทพนิยายของบาบิโลนนี่แหละ..
อารยธรรมยิ่งใหญ่ของบาบิโลนที่ทิ้งไว้ให้แก่มนุษย์ชาติ สำคัญๆได้แก่ กฏหมายของบาลิโลนที่มีความยุติธรรมและเขียนจารึกไว้บนแผ่นดินเหนียวซึ่งยังคงเหลือมาถึงทุกวันนี้ โดยกษัตริย์ฮัมมุรัมบี ตรากฏหมายเรื่องต่างๆ เช่น การสมรส โจรกรรม หนี้สิน การจราจรทางน้ำ ค่าจ้างแรงงาน การรักษาคลอง กฏหมายกำหนดราคา ฯลฯ เหล่านี้เป็นกฏหมายที่ยุติธรรมแต่บทลงโทษโหดเหิ้ยม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกฏหมายที่ดี จนกระทั่งโรมันนำมาใช้ทั่วจักรวรรดิโรมัน และประเทศยุโรปยังเอากฎหมายโรมันมาใช้อยู่ในปัจจุบัน
บาบิโลนและอัสซีเรีย 2 จักรวรรดิของชาวเซไม้ท์ในเมโสโปเตเมียดินแดนแห่งลุ่มน้ำไทกรีส ยูเฟรตีส ได้เจริญรุ่งเรืองอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง และทิ้งอารยธรรมไว้แก่โลกก่อนที่จะถูกมหาอำนาจใหม่ในตะวันออกกลาง คือ เปอร์เซีย ได้ทำลายทั้งอัสซีเรีย(ปี 612 ก่อน ค.ศ.) และบาบิโลน (ปี 539 ก่อน ค.ศ.)ทิ้งไว้แต่ซาก…กองดิน…และตำนาน…
สวนลอยแห่งบาบิโลนตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำยูเฟรติส ซึ่งเป็นเขตพื้นที่ของประเทศอิรักในปัจจุบัน การเดินทางไปอิรักไม่สามารถบินตรงเข้าแบกแดก เมืองหลวงของประเทศได้ เพราะอิรักถูกประเทศมหาอำนาจสหรัฐอเมริกาแซงชั่น จัดชั้นอิรักเป็น “ประเทศอันธพาล” ห้ามติดต่อคบหาสมาคมด้วย การเดินทางไปบาบิโลนจึงต้องผ่านเข้าไปทางประเทศจอร์แดน ประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกันก่อน
แล้วนั่งรถข้ามทะเลทรายเข้าไปแบกแดก…
สวนลอยที่ตั้งอยู่ท่ามกลางทะเลทรายจึงเป็นเสมือนสรวงสวรรค์ที่งดงามและชุ่มชื้นท่ามกลางเปลวแดดอันร้อนระอุ พ่อค้าและผู้ที่เดินทางผ่านมาสามารถมองเห็นสวนลอยได้แต่ไกล เพราะเป็นสถานที่ที่ใหญ่โตมาก บ้างที่เดินทางฝ่าไอแดดท่ามกลางทะเลทรายมาไกลก็ได้อาศัยร่มเงาของสวนลอยเป็นที่พักพิงหลบร้อนให้หายเหนื่อยก่อนออกเดินทางต่อ เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบันสวยลอยแห่งนี้ได้พังทลายสูญหายไปแล้ว จากกิตติศัพท์ความงดงามอลังการของสวนลอยบาบิโลนจึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะนับเป็นสิ่งมหัศจรรย์ได้อย่างไม่มีข้อกังขา
แต่……. แม้สถานที่แห่งนั้นมันจะมีชื่อเสียงเทียบเท่าวิหารของเทพซุส หรือประภาคารแห่งอเล็กซานเดรีย แต่เรื่องราวของสวนนี้ก็ยังเป็นปริศนาลึกลับจนถึงทุกวันนี้ เพราะนักประวัติศาสตร์ต่างสงสัยว่าสวนลอยนี้มันมีตัวตนจริงเหรอ? หรือมันจะอุปโลกน์ขึ้น โดยสาเหตุที่นักประวัติศาสตร์ต่างสงสัยว่าอาคารนี้มันมีตัวตนจริงเหรอก็มีดังนี้
1. ทุกวันนี้ยังไม่มีใครพบหลักฐานวัตถุหรือโครงสร้างของสวนลอยฟ้าแห่งนี้เลย จริงมีเพียงแต่บันทึกหลักฐานของคนโบราณเท่านั้น โดยหลักฐานเกี่ยวกับบันทึกที่สำคัญที่สุดคืองานนิพนธ์ที่เขียนขึ้นเมื่อ 270 ปีก่อนของเบรอสซุส (Berossus) นักประวัติศาสตร์ เขาเล่าว่ากษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ทรงมีบัญชาสร้างสวนนี้เพียง 15 วันเท่านั้น ซึ่งนักประวัติศาสตร์ใช้บทประพันธ์นี้ในการจำลองภาพสวนลอยฟ้าบาบิโลน
นอกจากนี้ก็มีนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกหลายคนที่บรรยายสวนลอยแห่งนี้ ที่ดังๆ ก็มี ดิโอโดรัส ซิคูลัส (Diodorus Siculus) แต่งสวนใหญ่มีหลายคนที่บรรยายสวนลอยแห่งนี้หลายแบบจนเหมือนกับว่า “พวกเขาเคยไปเห็นสวนนี้กับตาถึงบาบิโลมจริงๆ เหรอ?”
2. นักประวัติศาสตร์บางคนไม่เชื่อว่ามันมีอยู่จริงเพราะถ้ามันมีจริงชาวบาบิโลมจะเอาเทคโนโลยีไหนมาสร้าง เพราะว่าสมมุติเราจะสร้างสวนลอยฟ้าแบบนี้ในปัจจุบันสมมุติว่าจะสร้างกลางทะเลทราย ก็เป็นเรื่องยากอยู่ดี แม้ว่าเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีด้านวัตถุและวิธีสร้างจะกว้างล้ำไกลมาก แต่ปัญหาการจัดการสวนต้นไม้ใหญ่ในอาคารพื้นที่สูงก็ยังเป็นที่ปวดหัวต่อวิศวกรมาตลอด อย่าลืมสิว่าไม้ใหญ่มันมีรากที่สามารถทะลุวัตถุที่แข็งๆ ได้ ขนาดคอนกรีตปัจจุบันอยู่เอามันไม่อยู่แล้วสวนลอยฟ้าโบราณมันจะเอาอยู่เรอะ
3. แล้วพืชที่สวนลอยนี้มันมีชีวิตได้อย่างไง อย่าลืมว่าสวนนี้ตั้งใจกลางทะเลทราย มันต้องการน้ำในปริมาณมหาศาลมาก ซึ่งนักประวัติศาสตร์ก็มีคำตอบครับเขาว่าพระองค์ทรงนำทาสจำนวนมากมายแบกน้ำขึ้นไปรดต้นไม้ในสวนซะเลย นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือคือเกลียววิดน้ำหรือเรารู้จักกันดีคือเกลียวของอาร์คีมีดิส(Archimedean Screw) ซึ่งมันถูกค้นพบในอีรักมานานแล้ว และยังมีระบบชลประทานที่ออกแบบอย่างดีอยู่แล้วน้ำจึงไม่ขาด
4. มีบางคนเชื่อว่าสาเหตุที่เราไม่พบซากสวนลอย บางทีสวนนี้อาจไม่มีอยู่จริง หากมีจริงมันอาจเป็นไร่นาขั้นบันไดเท่านั้น โดยมีการแต่งเติมเสริมจริงของคนโบราณ
5.เกี่ยวกับคนสร้าง บางคนไม่เชื่อว่าพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์เป็นคนสร้างแต่เป็นเซนาเฮริบ(Senaherib) ต่างหากที่เป็นคนสร้างสวนนี้ขึ้นมา(100 ปีก่อนหน้านั้น)
6.น่าสนใจที่ว่าจากการตรวจดูศิลาจารึกในยุคของพระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ปรากฏว่าไม่มีคำไหนกล่าวถึงสวนลอยฟ้าแห่งนี้สักบรรทัด ซึ่งกล่าวแต่พระราชวัง นคร และกำแพงเมืองเท่านั้น ซึ่งแม้แต่นักประวัติศาสตร์กรีกเท่านั้นที่บรรยายสวนลอย ซึ้งบางที่นักประวัติศาสตร์กรีกเหล่านั้นอาจไม่ได้ไปบาบิโลมก็เป็นได้ พวกเขาอาจได้ยินทหารของกษตริย์อเล็กซานเอร์ที่เคยไปเหยียบดินแดนเมโสโปเตเมียและไปเห็นนครแห่งนั้นสวยราวกับสวรรค์จากนั้นพอกับบ้านเกิดเลยเล่าเรื่องสวนสวยของเมโสโปเตเมีย
สิ่งก่อสร้าง……หอคอย……กำแพงเมือง……ทำให้นักกวีและนักประวัติศาสตร์กรีกทั้งหลายเลยเอามาผสมปนเปกันจนเป็นสวนลอยบาบิโลมในที่สุด
7. อนึ่งบางที่ที่ตั้งของสวนลอยอาจคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เนื่องจากแม่น้ำยูเฟรติสที่คนอื่นว่าเป็นที่ตั้งของสวนลอยนั้นมันอยู่ห่างจากสถานที่สำคัญของนครบาบิโลมหลายร้อยเมตรจนไม่น่าจะเป็นไปได้ว่ามันจะมาสร้างที่นี้เพราะมันห่างไกลจากความเจริญเหลือเกิน
8. ถึงอย่างไรบริเวณสวนลอยนั้นก็ได้รับการซ่อมแซมโดยยึดคำอ้างอิงตามประวัติศาสตร์กรีกเป็นต้นแบบ(ตอนนี้เลิกโครงการแล้วมั้งจากสงครามอิรัก)
9. บางเว็บบอกว่าเจอบ่อน้ำกับซุ้มประตูบางส่วน แต่ความจริงคือผู้เชี่ยวชาญไม่ยอมรับเท่าไหร่ว่ามันคือสวนหนึ่งของสวนลอย และที่บอกว่าทรุดโทรม แต่ความจริงแล้วไม่พบแม้แต่ซากครับ
10. นักโบราณคดีเยอรมันชื่อโรเบิร์ต โคลเดอเวย์ เคยตั้งคำถามไว้เมื่อปีค.ศ.1899 ว่า นครบาเบลในสมัยโบราณนั้นเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโคลนตม จึงไม่เชื่อว่าจะมีสถาปัตยกรรมใดตั้งอยู่ แต่หลักฐานที่ให้เชื่อว่ามันมีอยู่จริงคือการพบห้องใต้ดินของสวนและล้อที่เป็นกลไกชักน้ำจากแม่น้ำเข้าสวน จึงเชื่อว่ามีอยู่จริง