พบปูมบันทึก4,500ปี เผยวิธีสร้าง”มหาปิรามิด”
พิพิธภัณฑสถานแห่งอียิปต์ ในกรุงไคโร กำลังจัดแสดงปูมบันทึกด้วยตัวอักษรเฮียโรกลิฟิค (อักษรภาพ) บนกระดาษปาปิรัส ที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยมีการค้นพบกันมาในอียิปต์ มีอายุถึง 4,500 ปี ที่สำคัญก็คือ ปูม
บันทึกดังกล่าวนี้ยังบันทึกรายละเอียดบางส่วนของการสร้างมหาปิรามิดแห่งกิซา ไว้อีกด้วย
มหาปิรามิดแห่งกิซา สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ฟาโรห์ คุฟู ซึ่งครองบัลลังก์ระหว่าง 2,551 ปีก่อนคริสตกาลเรื่อยมาจนกระทั่งถึง 2,528 ปีก่อนคริสตกาล ที่ได้ชื่อว่ามหาปิรามิด เนื่องจากเป็นปิรามิดขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาปิรามิดทั้งสามบนที่ราบกิซา
ในปูมบันทึกเก่าแก่ดังกล่าวระบุเอาไว้ว่า “สิ่งมหัศจรรย์ของโลก” นี้เมื่อแรกสร้างเสร็จนั้นสูง 146 เมตร ในปัจจุบันมหาปิรามิดสูงเพียง 138 เมตรเท่านั้น
ปูมบันทึกอายุ 4,500 ปีดังกล่าวถูกค้นพบโดยปิแอร์ ทัลเลต์ นักอียิปต์วิทยาจากมหาวิทยาลัยปารีส-ซอร์บอนน์ ประเทศฝรั่งเศส กับ เกรกอรี มารูอาร์ด นักโบราณคดีจากสถาบันโอเรียทัล ของมหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2013 บริเวณแหล่งขุดค้นริมทะเลแดง ที่เมือง วาดี-อัล-จาร์ฟ ซึ่งถูกระบุว่าเป็นท่าเรือที่เก่าแก่ที่สุดของอียิปต์ เก่าแก่กว่าท่าเรืออื่นๆ
ที่เคยมีการค้นพบไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี
ที่เคยมีการค้นพบไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี
ในรายงานรายละเอียดการค้นพบทางโบราณคดีของนักวิชาการทั้งสองซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปี 2014 ระบุว่า ค้นพบปูมบันทึกดังกล่าวในตัวอาคารซึ่งเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของคลังเก็บของของท่าเรือดังกล่าว ที่อยู่ห่างเข้ามาจากริมทะเลเพียง 200 เมตร ม้วนกระดาษปาปิรัส
ที่พบมีจำนวนหลายร้อยชิ้น แต่ที่มีสภาพดีเกือบสมบูรณ์มีอยู่เพียง 10 ชิ้น
ที่พบมีจำนวนหลายร้อยชิ้น แต่ที่มีสภาพดีเกือบสมบูรณ์มีอยู่เพียง 10 ชิ้น
ในแหล่งเดียวกันนี้ ยังค้นพบเศษซากเรือเก่า สมอเรือยุคโบราณ และปมเชือกที่ใช้กันอยู่ในยุคนั้น
ส่วนหนึ่งของบันทึกเก่าแก่ พูดถึงการที่ส่วนกลางจัดส่งอาหาร ซึ่งหลักๆ แล้วเป็น “ขนมปังและเบียร์” มายังท่าเรือแห่งนี้สำหรับคนงานซึ่งจะออกเรือต่อไป แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นบันทึกเกี่ยวกับรายละเอียดของการสร้างมหาปิรามิด ซึ่งเนื้อหาบ่งบอกว่าเขียนไว้โดย เมอเรอร์ ผู้ทำหน้าที่เป็น “ผู้ตรวจการณ์”
ซึ่ง “รับหน้าที่ดูแลทีมงานประกอบด้วยคนราว 200 คน” ในการก่อสร้างดังกล่าว
ซึ่ง “รับหน้าที่ดูแลทีมงานประกอบด้วยคนราว 200 คน” ในการก่อสร้างดังกล่าว
ปูมบันทึกดังกล่าวเขียนไว้เป็นเหมือนการบันทึกเหตุการณ์ตามตารางเวลา โดยใช้อักษรเฮียโรกลิฟิคสองแถวต่อการบันทึกเหตุการณ์หนึ่งวัน ซึ่งศาสตราจารย์ทัลเลต์ระบุว่า ช่วยให้สามารถติดตามความคืบหน้าในการก่อสร้างได้ต่อเนื่องไปนานราว 3 เดือน
เนื้อหาเป็นการบันทึกถึงกิจกรรมหลายๆ อย่างที่เกี่ยวเนื่องกับการก่อสร้างมหาปิรามิด รวมถึงงานที่ทำในเหมืองหินปูน ที่อยู่ในอีกฟากหนึ่งของลำน้ำไนล์
ตามปูมบันทึกของเมอเรอร์ ระบุเวลาเอาไว้ว่าเป็นปีที่ 27 ในรัชสมัยของฟาโรห์คุฟู และบอกว่ามหาปิรามิดกำลังใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว งานที่เหลือส่วนใหญ่จะอยู่ที่การทำ “เคสซิง สโตน” หรือแท่งหินปูนขนาดใหญ่ที่ด้านหนึ่งเรียบอีกด้านลาดเอียง สำหรับใช้ปิดคลุมด้านนอกของปิรามิด
ตามข้อมูลในปูมบันทึก แท่งหินปูนสีขาวที่ใช้เป็น “เคสซิง สโตน” นี้ จัดทำขึ้นที่เหมืองในเมืองทูรา ซึ่งปัจจุบันอยู่ใกล้กับกรุงไคโร เมืองหลวงของอียิปต์ จากนั้นก็นำขึ้นเรือล่องมาตามลำน้ำไนล์ และคลองสาขา
ในปูมยังบอกไว้ด้วยว่า เรือขนแท่งหินดังกล่าวจากทูรามายังจุดก่อสร้างมหาปิรามิดนั้นใช้เวลา 4 วัน
ในปูมยังบอกไว้ด้วยว่า เรือขนแท่งหินดังกล่าวจากทูรามายังจุดก่อสร้างมหาปิรามิดนั้นใช้เวลา 4 วัน
ในบันทึกกล่าวไว้ด้วยว่าการก่อสร้างในปีที่ 27
ในรัชสมัยฟาโรห์คุฟูนั้น งานก่อสร้างทั้งหมดกำกับดูแลโดยวิเซียร์ อันคาฟ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของฟาโรห์ (วิเซียร์ เป็นตำแหน่งข้าราชสำนักระดับสูง รับใช้องค์ฟาโรห์โดยเฉพาะ)
อย่างไรก็ตามนักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่า ในยุคเริ่มแรกของการก่อสร้างมหาปิรามิดนั้น ผู้ควบคุมการก่อสร้างทั้งหมดนั้นน่าจะเป็นบุคคลอื่น เป็นไปได้ว่าจะเป็นวิเซียร์ อีกรายที่ชื่อ เฮมิอูนู
ศาสตราจารย์ทัลเลต์ ชี้ว่า ปูมบันทึกของเมอเรอร์นี้ ถือเป็นบันทึกแรกที่ทำให้ผู้คนยุคหลังได้รับรู้ถึงรายละเอียดของการก่อสร้างมหาปิรามิดแห่งกิซานี้