Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ฟอสซิลดอกไม้สมัยดึกดำบรรพ์ สวยแต่มีพิษ


ฟอสซิลดอกไม้สมัยดึกดำบรรพ์ สวยแต่พิษแรง
เมื่อเดือน ก.พ. วารสาร Nature Plants เผยว่านักวิจัยค้นพบฟอสซิลของดอกไม้ ในสมัยยุคดึกดำบรรพ์เมื่อ 20-30 ล้านปีก่อนในป่าของสาธารณรัฐโดมินิกัน โดยดอกไม้นี้สามารถบอกเราได้ถึงแหล่งที่มาของมันฝรั่ง มะเขือเทศ ยาสูบ พิทูเนีย และกาแฟ

ดอกไม้ชนิดนี้เป็นพืชใบเลี้ยงคู่แท้แกนกลางในกลุ่มแอสเทอริด (asterid) โดยศาสตราจารย์ George Poinar จากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยออริกอนสเตดกล่าวว่า ฟอสซิลดอกไม้ถูกเก็บรักษาในสภาพที่ดีและสวยงาม 

แต่ก่อนนั้นมันเติบโตขึ้นท่ามกลางป่าไม้เขตร้อนที่เต็มไปด้วยต้นไม้ทั้งต้นใหญ่และต้นเล็ก เถาวัลย์ที่โยงใย ต้นปาล์ม หญ้า และพืชพันธุ์อื่นๆ

ฟอสซิลดอกไม้นี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบชีววิทยาในอดีตอันไกลโพ้น และเป็นหลักฐานว่าพืชกลุ่มแอสเทอริดที่ให้อาหารและผลิตผลอื่นๆกับเราในปัจจุบันนั้นมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์มาหลายสิบล้านปีแล้ว
อย่างไรก็ตาม นักวิจัยกล่าวว่าฟอสซิลดอกไม้นี้เป็นส่วนมืดของพืชกลุ่มแอสเทอริด ซึ่งหากสกัดแล้วจะได้สารสตริกนิน (strychnine) และยางน่อง(Curare) ซึ่งเป็นสารพิษที่เป็นที่รู้จักกันดีทั่วโลก

ศาสตราจารย์ Poinar กล่าวว่าพืชแต่ละชนิดมีแอลคาลอยด์เป็นของตัวเอง บางชนิดมีพิษร้ายแรงกว่าชนิดอื่น ซึ่งนับเป็นความสำเร็จเนื่องจากพิษของมันสามารถป้องกันตัวเองจากสัตว์กินเนื้อได้ ในปัจจุบันนี้สารพิษบางชนิดถูกนำไปใช้ทำประโยชน์หรือถูกทำเป็นยาได้

รายการบล็อกของฉัน