พบรูปแกะสลักอายุกว่า 8 พันปี ในตุรกี
คาดเป็นตัวแทน “สาวแก่สถานะทางสังคมสูง”
คาดเป็นตัวแทน “สาวแก่สถานะทางสังคมสูง”
รูปสลักหินปูนที่พบในชาตัลฮูก (ภาพจาก Çatalhöyük Research Project)
เผยแพร่วันพฤหัสที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2559
นักโบราณคดีขุดพบรูปแกะสลักอายุกว่า 8 พันปี ที่ชาตัลฮูก (Çatalhöyük) แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ในประเทศตุรกี ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า นอกจากน่าจะเป็นรูปสลักของเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์แล้ว ยังอาจเป็นตัวแทนของสาวสูงวัยผู้มีสถานะสูงในสังคมอีกด้วย
เผยแพร่วันพฤหัสที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2559
นักโบราณคดีขุดพบรูปแกะสลักอายุกว่า 8 พันปี ที่ชาตัลฮูก (Çatalhöyük) แหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ในประเทศตุรกี ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า นอกจากน่าจะเป็นรูปสลักของเทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์แล้ว ยังอาจเป็นตัวแทนของสาวสูงวัยผู้มีสถานะสูงในสังคมอีกด้วย
รูปสลักดังกล่าวทำจากหินปูนตกผลึกซ้ำ (recrystallized limestone) สูงราว 17 ซม. กว้าง 11 ซม. อายุประมาณ 6300-6000 ปีก่อนคริสต์กาล ซึ่งถือว่าเป็นการใช้วัสดุที่ต่างไปจากปกติ ที่ส่วนมากรูปประติมากรรมจากพื้นที่เดียวกันส่วนใหญ่มักใช้เทคนิคในการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นหลัก
รายงานของ Live Science กล่าวว่า รูปสลักดังกล่าวนอกจากจะใช้วัสดุต่างจากรูปประติมากรรมทั่วไปแล้ว ความปราณีตในเชิงช่างยังโดดเด่นกว่ารูปปั้นอื่นๆ ที่พบในพื้นที่และยุคเดียวกัน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ผู้แกะสลักจะต้องใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กและบาง เพื่อสามารถแกะลักษณะต่างๆ ที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยได้ และต้องเป็นช่างฝีมือที่ผ่านการฝึกฝน มิใช่ช่างสมัครเล่น ทำให้มีการสันนิษฐานว่า ในช่วงดังกล่าวเริ่มมีสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จากที่เคยเป็นสังคมแห่งการแบ่งปัน ไปสู่สังคมแห่งการแลกเปลี่ยน ซึ่งทำให้การจัดสรรทรัพยากรเริ่มไม่เป็นไปอย่างเท่าเทียม
พื้นที่ขุดสำรวจในชาตัลฮูก (โดย Dr._Colleen_Morgan from York, UK, USA, via Wikimedia Commons)
“เราคิดว่า สังคมเริ่มเปลี่ยนในช่วงนี้ ความเท่าเทียมเริ่มมีลดน้อยลง บ้านหลังต่างๆ เริ่มแยกตัวออก และสังคมได้หันมาพึ่งพิงผลผลิตจากการเกษตรมากขึ้น” เอียน ฮอดเดอร์ (Ian Hodder) ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งดูแลการขุดค้นแหล่งโบราณคดีแห่งชาตัลฮูกกล่าว ก่อนเสริมว่า ลักษณะอ้วนท้วนของรูปสลักน่าจะเป็นตัวแทนของสถานะอันสูงส่ง มากกว่าที่จะเป็นตัวแทนของตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการยกย่องในสังคมที่มีความเท่าเทียมกัน
“เราคิดว่า สังคมเริ่มเปลี่ยนในช่วงนี้ ความเท่าเทียมเริ่มมีลดน้อยลง บ้านหลังต่างๆ เริ่มแยกตัวออก และสังคมได้หันมาพึ่งพิงผลผลิตจากการเกษตรมากขึ้น” เอียน ฮอดเดอร์ (Ian Hodder) ศาสตราจารย์ด้านมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งดูแลการขุดค้นแหล่งโบราณคดีแห่งชาตัลฮูกกล่าว ก่อนเสริมว่า ลักษณะอ้วนท้วนของรูปสลักน่าจะเป็นตัวแทนของสถานะอันสูงส่ง มากกว่าที่จะเป็นตัวแทนของตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการยกย่องในสังคมที่มีความเท่าเทียมกัน
ทั้งนี้ ชาตัลฮูกคือแหล่งชุมชนโบราณขนาดใหญ่มีอายุย้อนไปกว่า 9 พันปี ยุครุ่งเรืองที่สุดอยู่ในช่วง 7000 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนถูกทิ้งร้างไปเมื่อราว 5700 ปีก่อนคริสตกาล ชาวบ้านที่นี่อาศัยอยู่ในบ้านดินที่ตั้งอยู่ติดกันอย่างหนาแน่น โดยคาดว่าน่าจะมีประชากรราว 5 พันคน ส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนาที่เริ่มรู้จักการเพาะปลูกพืชไม่กี่ชนิด และทำปศุสัตว์เพื่อกินเนื้อและนม
ความโดดเด่นของชาตัลฮูกคือชุมชนแห่งนี้ไม่มีการแบ่งลำดับชั้นทางสังคมที่ชัดเจน ไม่มีบ้านสำหรับนักบวชหรือผู้นำชุมชน, ไม่มีศาสนสถาน, พื้นที่สาธารณะ หรือสุสาน เมื่อมีผู้เสียชีวิตร่างของพวกเขาจะถูกฝังไว้ใต้พื้นบ้าน ทำให้นักโบราณคดีบางส่วนเชื่อว่าชุมชนแห่งนี้เป็นสังคมแห่งความเสมอภาค