เรื่องของสมาคมลับ "อิลลูมินาติ" (Illuminati) ที่เล่าขานกันมาเนิ่นนานนั้น อาจจะเรียกได้ว่าเป็นเจ้าแห่งทฤษฎีสมคบคิดทั้งหลายทั้งปวงในโลก เพราะนอกจากจะเป็นที่รู้จักและเชื่อถือกันอย่างกว้างขวางแล้ว อิลลูมินาติยังเป็นที่มาและคำอธิบายของปริศนาลึกลับบรรดามีภายใต้ดวงอาทิตย์อีกนับไม่ถ้วน
ผู้คนจำนวนมากทั่วโลกเชื่อว่า สมาคมลับอิลลูมินาติคือผู้กุมอำนาจสูงสุดอยู่เบื้องหลังการเมืองการปกครองของโลก โดยมุ่งดำเนินการในทางลับเพื่อก่อตั้ง "ระเบียบโลกใหม่"
อย่างไรก็ตาม มีน้อยคนที่จะรู้ว่าทฤษฎีสมคบคิดอันเหลือเชื่อนี้ ถือกำเนิดจากนิยายล้อเลียนเสียดสีสังคมที่แต่งขึ้นในยุคทศวรรษ 1960 โดยมีจุดประสงค์กระตุ้นเตือนให้ผู้คนได้ตระหนักถึงอำนาจควบคุมทางสังคมของกลุ่มชนชั้นนำ แต่ท้ายที่สุด เรื่องเล่าดังกล่าวกลับกลายเป็นที่มาของข่าวปลอมและมายาคติที่ระบาดลุกลามไปทั่วโลก
อิลลูมินาติมีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์เพียงแค่ในยุคเรืองปัญญา
(Age of Enlightenment)
เมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 18 โดยมีการก่อตั้งสมาคมลับของเหล่าปัญญาชนขึ้นในแคว้นบาวาเรียของเยอรมนีเมื่อปี 1776 เพื่อต่อต้านอิทธิพลของศาสนาและชนชั้นนำที่เข้าแทรกแซงชีวิตประจำวันของสามัญชนในขณะนั้นแม้จะมีนักคิดหัวก้าวหน้าจำนวนมากเข้าร่วมในขบวนการนี้ แต่ในที่สุดสมาคมลับอย่างอิลลูมินาติและฟรีเมสันก็ค่อย ๆ ถูกกลุ่มอนุรักษ์นิยมและองค์กรทางคริสต์ศาสนาเบียดขับให้กลายเป็นพวกนอกกฎหมาย และสูญหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์
(Age of Enlightenment)
เมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 18 โดยมีการก่อตั้งสมาคมลับของเหล่าปัญญาชนขึ้นในแคว้นบาวาเรียของเยอรมนีเมื่อปี 1776 เพื่อต่อต้านอิทธิพลของศาสนาและชนชั้นนำที่เข้าแทรกแซงชีวิตประจำวันของสามัญชนในขณะนั้นแม้จะมีนักคิดหัวก้าวหน้าจำนวนมากเข้าร่วมในขบวนการนี้ แต่ในที่สุดสมาคมลับอย่างอิลลูมินาติและฟรีเมสันก็ค่อย ๆ ถูกกลุ่มอนุรักษ์นิยมและองค์กรทางคริสต์ศาสนาเบียดขับให้กลายเป็นพวกนอกกฎหมาย และสูญหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์
ภาพยนตร์บางเรื่องเช่น "เทวากับซาตาน" (Angels and Demons) นำเสนอเรื่องราวของอิลลูมินาติจนกลายเป็นกระแสนิยมเรื่องเล่ากำเนิดใหม่ในยุคบุปผาชน
เรื่องราวของอิลลูมินาติที่เราได้ยินกันอยู่ทุกวันนี้ แทบจะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับสมาคมลับของปัญญาชนในศตวรรษที่ 18 เลยแม้แต่น้อย
👉เดวิด แบรมเวลล์ นักเขียนและนักสื่อสารมวลชนชาวอังกฤษ ซึ่งอุทิศตนสืบค้นที่มาของตำนานอิลลูมินาติบอกว่า อิทธิพลของเหล่าบุปผาชนหรือฮิปปี้ในยุคทศวรรษ 1960 ซึ่งมีความคลั่งไคล้ในวัฒนธรรมต่อต้าน (counter-culture)
ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับวัฒนธรรมกระแสหลัก รวมทั้งหลงใหลในปรัชญาตะวันออกและยาเสพติดอย่าง LSD เป็นกลุ่มที่รื้อฟื้นความเชื่อเรื่องสมาคมลับอิลลูมินาติขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีการแต่งเติมเนื้อหาสาระของเรื่องเล่าให้ต่างไปจากเดิมอย่างมาก
ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับวัฒนธรรมกระแสหลัก รวมทั้งหลงใหลในปรัชญาตะวันออกและยาเสพติดอย่าง LSD เป็นกลุ่มที่รื้อฟื้นความเชื่อเรื่องสมาคมลับอิลลูมินาติขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีการแต่งเติมเนื้อหาสาระของเรื่องเล่าให้ต่างไปจากเดิมอย่างมาก
กระแสความเชื่อในอิลลูมินาติยุคใหม่ เริ่มต้นขึ้นจากการตีพิมพ์หนังสือเล่มเล็ก ๆ
ชื่อ Principia Discordia หรือ "หลักการของผู้เห็นต่าง"
ซึ่งเป็นนิยายที่แต่งล้อเลียนคัมภีร์ศาสนา โดยผู้เขียนที่อ้างว่าเป็นนักคิดนิยมลัทธิอนาธิปไตย ได้ชักชวนให้ผู้อ่านหันมานับถือลัทธิใหม่ของตนและบูชา "อีริส" (Eris) เทพีแห่งความสับสนอลหม่านไร้ระเบียบ
ชื่อ Principia Discordia หรือ "หลักการของผู้เห็นต่าง"
ซึ่งเป็นนิยายที่แต่งล้อเลียนคัมภีร์ศาสนา โดยผู้เขียนที่อ้างว่าเป็นนักคิดนิยมลัทธิอนาธิปไตย ได้ชักชวนให้ผู้อ่านหันมานับถือลัทธิใหม่ของตนและบูชา "อีริส" (Eris) เทพีแห่งความสับสนอลหม่านไร้ระเบียบ
เห็นได้ชัดว่าหนังสือดังกล่าว
เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระแสวัฒนธรรมต่อต้าน ที่พยายามชักจูงให้ผู้คนตั้งคำถามต่อข้อจำกัดของ "ความจริง" ที่เคยรับรู้กันมา และปลุกเร้าให้กระทำการ "อารยะขัดขืน" ต่ออำนาจครอบงำดั้งเดิม
โดยรวมแล้วหนังสือเล่มนี้พยายามทำให้เรื่องล้อเลียนขบขันและข่าวปลอมปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้จริงในทางปฏิบัติหนังสือ Principia Discordia ได้จุดประกายให้หนึ่งในผู้เขียนคือ เคอร์รี ทอร์นลีย์ ร่วมงานกับโรเบิร์ต วิลสัน นักเขียนของนิตยสารเพลย์บอย ทำการทดลองทางวรรณกรรมเพื่อต่อต้าน "อำนาจครอบงำ" เนื่องจากพวกเขาเห็นพ้องต้องกันว่า "โลกในปัจจุบันเป็นเผด็จการมากเกินไป ตึงเกินไป ปิดกั้นมากเกินไป และถูกควบคุมมากเกินไป จึงจำเป็นต้องนำอนาธิปไตยกลับคืนมาสู่สังคมเสียบ้าง เพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ"
เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระแสวัฒนธรรมต่อต้าน ที่พยายามชักจูงให้ผู้คนตั้งคำถามต่อข้อจำกัดของ "ความจริง" ที่เคยรับรู้กันมา และปลุกเร้าให้กระทำการ "อารยะขัดขืน" ต่ออำนาจครอบงำดั้งเดิม
โดยรวมแล้วหนังสือเล่มนี้พยายามทำให้เรื่องล้อเลียนขบขันและข่าวปลอมปฏิวัติเปลี่ยนแปลงสังคมได้จริงในทางปฏิบัติหนังสือ Principia Discordia ได้จุดประกายให้หนึ่งในผู้เขียนคือ เคอร์รี ทอร์นลีย์ ร่วมงานกับโรเบิร์ต วิลสัน นักเขียนของนิตยสารเพลย์บอย ทำการทดลองทางวรรณกรรมเพื่อต่อต้าน "อำนาจครอบงำ" เนื่องจากพวกเขาเห็นพ้องต้องกันว่า "โลกในปัจจุบันเป็นเผด็จการมากเกินไป ตึงเกินไป ปิดกั้นมากเกินไป และถูกควบคุมมากเกินไป จึงจำเป็นต้องนำอนาธิปไตยกลับคืนมาสู่สังคมเสียบ้าง เพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งต่าง ๆ"
วีธีที่พวกเขาเลือกใช้คือการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและข่าวปลอมผ่านช่องทางสื่อสารต่าง ๆ ให้มากที่สุด ทั้งการเผยแพร่ในกลุ่มวัฒนธรรมต่อต้านและในสื่อกระแสหลัก โดยเริ่มจากการเผยแพร่เรื่องของอิลลูมินาติเป็นอันดับแรก
วิลสันและทอร์นลีย์เริ่มเขียน "จดหมายจากผู้อ่าน" ขึ้นมาเองหลายฉบับ และส่งเข้ามาตีพิมพ์ที่กองบรรณาธิการของนิตยสารเพลย์บอย โดยจดหมายปลอมเหล่านี้มีเนื้อหาเล่าถึงองค์กรลับของชนชั้นนำที่เรียกว่าอิลลูมินาติ จนเป็นที่โจษจันกล่าวขานกันในหมู่ผู้อ่านอย่างกว้างขวาง
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ทั้งคู่ก็เริ่มส่งจดหมายจากผู้อ่านปลอม ที่มีเนื้อหาขัดแย้งกับที่เคยเขียนไปตอนแรกเข้ามาด้วย ซึ่งเดวิด แบรมเวลล์ ผู้ค้นคว้าที่มาของตำนานอิลลูมินาติอธิบายว่า
"วิลสันและทอร์นลีย์เชื่อในทฤษฎีที่ว่า หากให้ข้อมูลขัดแย้งซึ่งทักท้วงถึงความผิดปกติของเรื่องราวไปมากพอ ผู้คนส่วนใหญ่จะเริ่มฉุกคิดได้เองว่า ข้อมูลที่ได้รับในตอนแรกมีความน่าเชื่อถืออยู่หรือไม่ ซึ่งเท่ากับปลุกเร้าให้สาธารณชน รู้จักตั้งคำถามต่อความจริงทางสังคมที่เชื่อตาม ๆ กันมา แต่น่าเสียดายว่า ผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่พวกเขาตั้งใจไว้"
"วิลสันและทอร์นลีย์เชื่อในทฤษฎีที่ว่า หากให้ข้อมูลขัดแย้งซึ่งทักท้วงถึงความผิดปกติของเรื่องราวไปมากพอ ผู้คนส่วนใหญ่จะเริ่มฉุกคิดได้เองว่า ข้อมูลที่ได้รับในตอนแรกมีความน่าเชื่อถืออยู่หรือไม่ ซึ่งเท่ากับปลุกเร้าให้สาธารณชน รู้จักตั้งคำถามต่อความจริงทางสังคมที่เชื่อตาม ๆ กันมา แต่น่าเสียดายว่า ผลที่เกิดขึ้นไม่เป็นไปตามที่พวกเขาตั้งใจไว้"
เจย์ ซี เป็นหนึ่งในบรรดานักร้องแนวฮิปฮอปที่ชูมือทำสัญลักษณ์สามเหลี่ยมของอิลลูมินาติ ระหว่างการแสดงคอนเสิร์ต
เล่าลือกันไปอย่างสับสนอลหม่าน
ทฤษฎีสมคบคิดเรื่องสมาคมลับอิลลูมินาติ ถูกเผยแพร่ออกไปในวงกว้างยิ่งกว่าที่ผู้เขียนต้นเรื่องคาดหมายเอาไว้หลายเท่า ในเวลาต่อมาวิลสันและนักเขียนจากนิตยสารเพลย์บอยอีกคนหนึ่งได้แต่งนิยายไตรภาคเรื่อง The Illuminatus! Trilogy ซึ่งมีเนื้อหาเฉลยปริศนาลึกลับแห่งยุคหลายเรื่อง เช่นใครคือผู้ลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดี โดยพวกเขาอ้างว่าอิลลูมินาติคือผู้บงการอยู่เบื้องหลังเรื่องราวปิดลับเหล่านี้
หนังสือดังกล่าวขายดิบขายดีและถูกนำไปสร้างเป็นละครเวทียอดนิยมในเมืองลิเวอร์พูลของอังกฤษ ชื่อของวงดนตรีดังหลายวงในยุคนั้นตั้งขึ้นตามตัวละครเด่นในนิยายไตรภาคเรื่องนี้ ทั้งยังมีเกมการ์ดบทบาทสมมติที่ใช้เรื่องราวของอิลลูมินาติออกวางจำหน่ายในปี 1975 อีกด้วย ทำให้คนรุ่นทศวรรษ 1960-1970 ฝังใจจำและเชื่อเรื่องทฤษฎีสมคบคิดนี้ว่าเป็นจริงมาโดยตลอด
ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ นำทฤษฎีสมคบคิดหลายเรื่องมาเป็นประเด็นทางการเมืองในเวทีกระแสหลัก
ปัจจุบันเรื่องราวของ
อิลลูมินาติกลายเป็นหนึ่งในทฤษฎีสมคบคิดที่เล่าลือกันอย่างกว้างขวางมากที่สุดในโลก แม้แต่นักร้องดังอย่างเจย์ ซี และบียอนเซ่ ยังเคยชูมือทำสัญลักษณ์สามเหลี่ยมของอิลลูมินาติระหว่างการแสดงคอนเสิร์ต การมาถึงของยุคสมัยแห่งอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ยิ่งทำให้ตำนานอิลลูมินาติแพร่ออกไปมากขึ้น
โดยเว็บไซต์อย่าง 4chan และ Reddit เป็นสื่อกลางที่ทำให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จักเรื่องเล่าเก่าแก่ที่อยู่ยั้งยืนยงมานานหลายสิบปี
อิลลูมินาติกลายเป็นหนึ่งในทฤษฎีสมคบคิดที่เล่าลือกันอย่างกว้างขวางมากที่สุดในโลก แม้แต่นักร้องดังอย่างเจย์ ซี และบียอนเซ่ ยังเคยชูมือทำสัญลักษณ์สามเหลี่ยมของอิลลูมินาติระหว่างการแสดงคอนเสิร์ต การมาถึงของยุคสมัยแห่งอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ยิ่งทำให้ตำนานอิลลูมินาติแพร่ออกไปมากขึ้น
โดยเว็บไซต์อย่าง 4chan และ Reddit เป็นสื่อกลางที่ทำให้คนรุ่นใหม่ได้รู้จักเรื่องเล่าเก่าแก่ที่อยู่ยั้งยืนยงมานานหลายสิบปี
อันที่จริงแล้ว โลกของเราทุกวันนี้ยังเต็มไปด้วยทฤษฎีสมคบคิดที่เล่าลือกันมากมายหลายเรื่อง และมีผู้หลงเชื่อเป็นจำนวนไม่น้อย โดยการสำรวจทางรัฐศาสตร์ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 2015 พบว่าชาวอเมริกันราวครึ่งหนึ่งของประชากรทั้งหมด เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดกันคนละอย่างน้อยหนึ่งเรื่อง ซึ่งมีตั้งแต่เรื่องของอิลลูมินาติ ไปจนถึงความเชื่อที่ว่าอดีตประธานาธิบดีบารัก โอบามา ปลอมแปลงสัญชาติ และเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน เป็นการจัดฉากของหน่วยข่าวกรองรัฐบาลสหรัฐฯ
ศาสตราจารย์วิเรน สวามี ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาสังคมจากมหาวิทยาลัยแองเกลียรัสกิน (ARU) ของสหราชอาณาจักร แสดงความเห็นว่า "คนที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิด ไม่ใช่กลุ่มคนที่มีบุคลิกภาพแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ ปัจจุบันมีแนวคิดทฤษฎีมากมายที่นำมาใช้อธิบายพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ ตั้งแต่เรื่องของสาเหตุจากความเจ็บป่วยทางใจ ไปจนถึงการอาศัยเรื่องเล่าสมคบคิดเพื่ออธิบายเหตุการณ์ที่สับสนเข้าใจยาก และเหตุการณ์ที่กระทบต่อการประเมินคุณค่าในตนเอง"
งานวิจัยของ ศ. สวามี ซึ่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการเมื่อปี 2016 ชี้ว่าคนที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิดมีแนวโน้มจะเคยเผชิญกับเหตุการณ์วิกฤตตึงเครียดมามากกว่าคนที่ไม่เชื่อ ส่วนงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งในปีเดียวกันยังพบว่า คนที่มีการศึกษาสูงกว่ามีแนวโน้มจะเชื่อในทฤษฎีสมคบคิดน้อยกว่า
"สังคมอเมริกันในปัจจุบันมีความเปลี่ยนแปลงหลายเรื่อง ที่จะส่งเสริมให้ทฤษฎีสมคบคิดแพร่ขยายออกไปและดูน่าเชื่อถือมากขึ้น ในภูมิภาคเอเชียใต้ทฤษฎีสมคบคิดเป็นเครื่องมือที่รัฐใช้ควบคุมพลเมือง แต่ในโลกตะวันตกนั้นตรงกันข้าม กลุ่มคนที่ไร้อำนาจและไม่มีปากเสียงจะใช้ทฤษฎีสมคบคิดเป็นเครื่องมือประท้วงท้าทายและตั้งคำถามกับรัฐบาล"
ศ. สวามียังชี้ว่า นักการเมืองยุคใหม่หลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้นำเอาทฤษฎีสมคบคิดมาใช้เรียกเสียงสนับสนุนจากประชาชน โดยเรื่องของอิลลูมินาติที่เป็นสมาคมลับในหมู่ชนชั้นสูงซึ่งใครก็แตะต้องไม่ได้นั้น สอดคล้องกับทัศนคติของกลุ่มคนที่มองว่าตัวเองไร้อำนาจและถูกรัฐทอดทิ้งไม่เหลียวแล ทรัมป์เองก็เคยกล่าวหาเสียงไว้ว่าต้องการจะเป็นตัวแทนที่ต่อสู้เพื่อคนเหล่านี้
👉อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ของนักการเมืองดังกล่าวอาจส่งผลกระทบทางลบในระยะยาว โดยอาจทำให้ผู้คนถอยห่างจากการมีส่วนร่วมในเวทีการเมืองกระแสหลัก และไปให้ความสนใจต่อประเด็นการเมืองชายขอบ ที่ส่งเสริมแนวคิดแบบรุนแรงสุดโต่งหรือเหยียดเชื้อชาติมากขึ้นได้
เดวิด แบรมเวลล์ กล่าวทิ้งท้ายว่า "ในทศวรรษ 1960 สภาพสังคมและวัฒนธรรมค่อนข้างคับแคบ แต่ในปัจจุบัน สิ่งที่เป็นอยู่อาจจะเสรีจนดูหละหลวมมากไปหน่อย บางทีกระแสความคิดเห็นต่าง ๆ ในสังคมอาจจะลงรอยและมีเสถียรภาพมากขึ้น เมื่อผู้คนเริ่มต่อต้านข่าวปลอมและการโฆษณาชวนเชื่อกันมากกว่านี้ ปัจจุบันเราเริ่มเข้าใจกันมากขึ้นแล้วว่า โซเชียลมีเดียป้อนข้อมูลบิดเบือนที่เราอยากเชื่อและพร้อมจะเชื่อได้ทุกเมื่ออย่างไร"