ย้อนเวลาไป 500 ปีก่อนกับ...
‘แร่ไพไรต์’ ตำนานแห่ง ‘ทองคนโง่’ ทำไมถึงได้ฉายาเช่นนี้ และเหตุการณ์เกิดขึ้นครั้งแรกที่ไหน มาดู...
ค้นหา
Custom Search
ไพไรต์ (Pyrite) คือผลึกแร่โลหะชนิดที่มีสีเหลืองอร่าม คำว่าไพไรต์ มาจากภาษากรีก ที่มีความหมายว่าไฟ (Pry) เหตุที่เรียกว่าไฟก็เนื่องมาจากไพไรต์เมื่อนำไปกระทบกับเหล็กแรงๆ ก็จะทำให้เกิดประกายไฟออกมา
ประโยชน์ของไพไรต์ส่วนใหญ่จะนิยมนำไปทำเป็นเครื่องประดับ หรือนำไปเป็นส่วนผสมในการทำกรดกำมะถัน เนื่องจากไพไรต์มีสีเหลืองอร่ามจนดูคล้ายกับทองคำ จึงมักจะทำให้ผู้ที่พบเห็นเข้าใจผิดอยู่เสมอว่ามันคือทองคำ จนได้ฉายาว่า
“ทองคนโง่” (Fool Gold)
เหตุที่ได้รับฉายานี้ก็ต้องย้อนกลับไปเมื่อศตวรรษที่ 15 เซอร์มาร์ติน โฟรบิสเชอร์ นักสำรวจชาวอังกฤษได้พบกับก้อนทองคำบนเกาะในประเทศแคนาดา จึงคิดว่าโชคเข้าข้างและได้ขนเอาก้อนทองคำเหล่านั้นกลับมาที่อังกฤษ และได้นำไปให้พ่อค้าทองตรวจพิสูจน์ ผลปรากฏว่าก้อนทองคำที่เอามานั้นมันคือ “ไพไรต์” ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม แม้จะรู้ทั้งรู้ว่ามันไม่ใช่ทอง แต่พ่อค้าเหล่านั้นได้จ้างวานให้เซอร์มาร์ตินกลับไปที่เกาะอีกรอบเพื่อขุดเอามาอีก
เซอร์มาร์ตินก็จัดให้สมใจ คราวนี้ขนกลับมาร่วม 200 ตัน เหล่าพ่อค้าที่หน้ามืดเพราะทองก็ตรวจสอบอีกและก็พบว่าทองคำที่เอามาไม่ใช่ทองเหมือนเดิม แต่ก็ยั๊งงง..งให้เซอร์มาร์ตินกลับไปขุดและขนกลับมาอีกรอบเพื่อความชัวร์....
คราวนี้เซอร์มาร์ตินคงจะขี้เกียจไปๆ กลับๆ จึงอัดมา 1,100 ตันเต็มๆ ผลก็เหมือนเดิมว่ามันไม่ใช่ทอง และเมื่อชาวบ้านชาวช่องรู้ต่างก็ขบขันและเรียกไพไรต์ ว่า “ทองคนโง่” ตั้งแต่นั้นมา (เหล่าพ่อค้านี่ทั้งขาดทุน
ทั้งเสียหน้าแย่เลย)