พบสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ช่วงรอยต่อยุคไทรแอสสิก-จูราสสิก
นักวิทยาศาสตร์พบสาเหตุการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่เมื่อสิ้นยุคไทรแอสสิก เกิดจากภูเขาไฟจำนวนมากระเบิดพร้อมกัน
การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ หรือ Great Mass Extinction คือการที่สายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่หายไปจากโลกในช่วงเวลาหนึ่งเป็นจำนวนมากจนพลิกโฉมหน้าให้สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์น้อยกว่าที่รอดตายกลับมาขึ้นมาครองโลกในเวลาต่อมา ช่วงเวลา 4,500 ล้านปีที่ผ่านมาเคยเกิดมาแล้วทั้งหมด 5 ครั้ง ครั้งสุดท้ายคือการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ปลายยุคครีเตเชียส(Cretaceous) ราวประมาณ 65 ล้านปีที่แล้ว เป็นการสิ้นสุดยุคไดโนเสาร์
นักวิทยาศาสตร์พยายามหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในแต่ละครั้ง ซึ่งเป็นที่ค่อนข้างแน่นอนว่าครั้งสุดท้ายหรือครั้งที่ 5 ที่เกิดเมื่อปลายยุคครีเตเชียสหรือราวประมาณ 65 ล้านปีก่อนนั้นเกิดจากการพุ่งเข้าชนของอุกกาบาตขนาดยักษ์ แต่สาเหตุของอีก 4 ครั้งก่อนหน้านั้นยังเป็นความมืดมน
ล่าสุดทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดร่วมกับเซาแธมป์ตัน พบร่องรอยที่บอกสาเหตุของการสูญพันธุ์ครั้งที่ 4 ที่เกิดตอน 201 ล้านปีก่อนหรือช่วงรอยต่อยุคไทรแอสสิก-จูราสสิกได้แล้ว จากการวิเคราะห์ตะกอนดินที่นำมาจากแหล่งขุดค้น 6 แห่งคือสหราชอาณาจักร ออสเตรีย อาร์เจนตินา กรีนแลนด์ แคนาดาและโมร็อกโก พบว่า 5 ใน 6 แห่งมีปริมาณสารปรอทสูงมาก สัมพันธ์กับปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากในอากาศ ซึ่งทั้งสองอย่างมีความเป็นไปได้สูงว่าจะปลดปล่อยออกมาจากการระเบิดต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ของภูเขาไฟจำนวนมากมายในช่วงเวลานั้น
ผลของสารปรอทซึ่งเป็นพิษและแก้ส CO2ปริมาณมากทำให้บรรยากาศของโลกไม่เหมาะจะเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ในยุคนั้นอันเนื่องมาจากปัญหาทั้งการหายใจและการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ สิ่งมีชีวิตในทะเลและสัตว์บกจำนวนในโดยเฉพาะกลุ่มสัตว์เลื้อคลานได้เกิดการล้มตายเป็นจำนวนมากจนกลายเป็นการสูญพัธุ์ครั้งใหญ่ครั้งที่ 4
VIDEO
ที่น่าแปลกใจคือสัตว์จำพวกไดโนเสาร์กลับเหลือรอดจากการสูญพันธุ์ครั้งนั้นมาสู่ยุคถัดไป
คือยุคจูราสสิกและพวกมันก็ทวีจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วจนครองโลกต่อมาอีกหลายล้านปี เป็นปริศนาที่ต้องหาคำตอบกันต่อไปว่าทำไมไดโนเสาร์ถึงทนต่อสภาวะแบบนั้นได้